CEO ARTICLE
ญี่ปุ่น-อียู
ญี่ปุ่น-อียู” คู่ค้าทวิภาคีใหญ่สุด
ชูธงค้าเสรีต้าน “ทรัมป์”
หัวข้อข่าวดังกล่าวปรากฎในเว็บไซด์ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 กรกฏาคม 2561 (https://www.prachachat.net/world-news/news-193759)
ในข่าวระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลจากการนำนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ “อเมริกาเฟริสต์” ที่ใช้ระหว่างการหาเสียงลงสู่การปฏิบัติ
“America First”
ภายหลังการเลือกตั้งในสหรัฐ ประธานาธิบปีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ประกาศเรียกเก็บภาษีจากจีนและสหภาพยุโรปเพื่อคุ้มครองสินค้าและคนของอเมริกาตามนโนบายที่หาเสียงไว้
การเร่งนโยบายดังกล่าวออกสู่การปฏิบัติ ทำให้จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐบ้าง
ต่างฝ่ายต่างใช้ภาษีเป็นกระสุนยิงใส่กัน โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เอกชนของทั้ง 2 ประเทศจะได้รับ
“สหรัฐคล้ายเด็กเกเรที่ระรานไปทั่ว”
กระข่าวข่าวมักใช้คำข้างต้น ในที่สุดความประพฤติที่คล้ายเด็กเกเรดังกล่ว สหรัฐก็เปิดศึกกับสหภาพยุโรปด้วยการขึ้นภาษีแบบเดียวกับจีน
ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นกลุ่มประเทศตัวอย่างของการรวมตัวเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกลุ่มหนึ่ง แม้อังกฤษในฐานะประเทศใหญ่และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งจะประกาศถอนตัวของจากกลุ่มไปแล้วก็ตาม
แต่สหภาพยุโรปก็ยังเดินหน้าไปตามนโยบายของการรวมตัว
วันนี้ สหภาพยุุโรปและญี่ปุ่นได้ประกาศร่วมมือกันทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีโดยกำหนดให้ทั้ง 2 ฝ่ายเป็นเขตปลอดภาษีระหว่างกันตามแนวทางของเขตการค้าเสรี (Free Trade Aree – FTA)
การรวมตัวกันแบบทวิภาคีของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นในครั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติภายหลังการผ่านสภาในปีหน้า และจะส่งผลให้เป็นทวิภาษีที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของโลก
ทวิภาคีนี้ จะครอบคลุม GDP ของโลกกว่า 30% ด้วยประชากรกว่า 600 ล้านคน
เพียงการตอบโต้ของอียูกลับส่งผลขนาดนี้ แม้แต่สหรัฐยังออกปากชื่นชม
ตามข้อตกลงนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะยกเลิกภาษีสินค้าระหว่างกันเกือบทั้งหมด ประกอบด้วย อียูจะยกเลิกภาษีสินค้าจากญี่ปุ่นถึง 99% ที่เข้าไปจำหน่ายในอียู
ส่วนญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีสินค้าจากอียู 94% ที่เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น และจะเพิ่มเป็น 99% ในภายหลัง
ญี่ปุ่นยังคงมีสินค้าบางอย่าง เช่น ข้าว ที่ต้องการการป้องเนื่องจากข้าวถือเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง
ส่วนสินค้าที่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ ประกอบด้วย เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เบียร์ ชีส ช๊อกโกแลต ขนมปัง และ ฯลฯ
ข่าวของญี่ปุ่นรวมตัวกับอียูเป็นที่คาดการกันว่า ญี่ปุ่นที่มีสภาพเศรษฐกิจซบเซาในหลายปีที่ผ่านมาจะค่อย ๆ กลับคึกคักขึ้น
สินค้าจำนวนมากจากอียูเข้าสู่ญี่ปุ่นจะมีราคาถูกลง คนญี่ปุ่นจะได้บริโภคสินค้าราคาถูกลง การซื้อ การขายที่มากขึ้นก็อาจทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว
ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกจากญี่ปุ่นไปอียูก็จะผลิตสินค้ามากขึ้น
วัตถุดิบภายในประเทศญี่ปุ่นจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น
เงื่อนไขข้อตกลงการค้าเสรีกำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยให้มีการนำเข้าได้ตามสัดส่วนที่กำหนดของสินค้าแต่ประเภท
ด้วยเหตุนี้ การผลิตที่มากขึ้นของญี่ปุ่นจะส่งผลให้วัตถุดิบที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยหลายรายการ เช่น ยางพารา เนื้อสัตว์ ส่วนประกอบอีเล็คโทรนิค พลาสติก และอื่น ๆ อีกมากที่สามารถศึกษาได้จากเว็บไซด์ของกรมการค้าต่างประเทศ
ญี่ปุ่นอาจต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากไทยมากขึ้น
นี่จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์จากข้อตกลงญี่ปุ่น-อียูในครั้งนี้
ขณะเดียวกัน ไทยก็เป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเชียน และอาเชียนก็มีข้อตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่นมานานแล้ว
นั่นหมายความว่า ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากกลุ่มอาเชียนทั้งหมดที่อยู่ในกรอบข้อตกลงก็ย่อมได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าไปด้วย
ดังนั้น ข้อตกลงญี่ปุ่น-อียูที่ไทยอาจได้ประโยชน์ ประเทศทั้งหมดในกลุ่มอาเชียนก็อาจได้ประโยชน์ไม่ต่างกัน
วันนี้ หากประกอบการไทยไม่เร่งศึกษา ไม่เร่งเสนอขายไปยังญี่ปุ่นล่วงหน้า ไทยก็อาจไม่ได้ประโยชน์จากข้อตกลงทวิภาคี “ญี่ปุ่น-อียู” แต่อย่างใด
ญี่ปุ่นกำลังเป็นเป้าหมายการค้าที่ไทยควรจับตาในปีหน้า และข้อตกลงการค้าเสรีญี่ปุ่น-อาเชียนก็จะเป็นเครื่องมือที่ดีต่อเป้าหมายในครั้งนี้
มันจึงอยู่ที่ผู้ประกอบการของไทยจะมองเห็น และเริ่มขยับตัวก่อนใครในประเทศอาเชียนด้วยกัน
ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
LOGISTICS
เดือนส.ค.นี้ อเมริกาบินตรวจมาตรฐานความปลอดภัยเรือไทย กทท.ระบุพร้อมแล้วทุกด้าน
นายโกมล ศรีบางพลีน้อย ผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ (อ.ทกท.) เปิดเผยว่า ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) เตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจตามแผนการรักษาความปลอดภัยของ ทกท. (International Ship and Port Facility Security Code : ISPS Code) ตามข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ ประจำปี 2561 โดย US Coast Guard จะมาทำการตรวจติดตามฯ ในเดือนสิงหาคม 2561
โดยได้ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดในการรักษาความปลอดภัยของท่าเรือในด้านต่างๆ พื้นที่เขตควบคุม ของ ทกท. จะมีการติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เพื่อบันทึกข้อมูลบุคคลและยานพาหนะที่ไม่ใช่รถบรรทุกสินค้าที่บริเวณประตูตรวจสอบสินค้า ผู้ใช้บริการจะต้องแสดงบัตรอนุญาตที่ออกให้โดยกองรักษาความปลอดภัย ฝ่ายบริหารงานสนับสนุน ทกท. พร้อมทั้งเอกสารสำคัญระบุตัวตน โดยต้องแสดงบัตรเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ จุดตรวจบริเวณด้านหน้าประตูทางเข้า-ออกเขื่อนตะวันออกและตะวันตก พร้อมทั้งการบันทึกภาพใบหน้าบุคคลและทะเบียนรถที่ผ่านเข้า-ออกทุกครั้งที่ผ่านเข้า-ออกเขตควบคุม เพื่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง
นายโกมลกล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่เขตหวงห้าม ของ ทกท. จะมีการสร้างรั้วรอบเขตพื้นที่หวงห้าม ที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร ผู้มาติดต่อจะต้องทำการขออนุญาตและได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อีกทั้งบุคคลและยานพาหนะที่ผ่านเข้า-ออก จะถูกตรวจค้นและบันทึกข้อมูลวันและเวลาการเข้า-ออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าในเขตพื้นที่หวงห้าม
สำหรับการติดตั้งระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เขตรั้วศุลกากรและบริเวณริมรั้ว และช่องทางเข้า-ออก ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินการติดตั้งกล้องจำนวน 200 ตัว คาดว่าจะสามารถใช้งานได้กลางปี 2562
ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการและผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใช้บริการ จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด ทั้งบุคคลและยานพาหนะที่ผ่านเข้า-ออกใน ทกท. จะต้องติดบัตรอนุญาตผ่านเข้า-ออกตลอดเวลาที่มาติดต่อกับ ทกท. เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสินค้าที่ผ่านเข้า-ออกภายในเขต ทกท.
ที่มา: http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=11621.0