CEO ARTICLE

ชื่อสินค้า

Published on April 23, 2024


Follow Us :

    

ชื่อสินค้าผิดเพี้ยนส่งผลอะไรต่อการนำเข้าและการส่งออก ?

สินค้าชนิดเดียวกันซื้อขายในประเทศเดียวกัน แต่อยู่ต่างภูมิภาคกันยังมีชื่อเรียกต่างกัน
นับประสาอะไรกับการนำเข้าและการส่งออก ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ห่างไกลกันนับพันนับหมื่นกิโลเมตร มีวัฒนธรรม มีความเชื่อ และมีภาษาต่างกันจะไม่มีชื่อสินค้าให้เรียกต่างกันได้อย่างไร
ผู้ซื้อและผู้ขายต่างฝ่ายต่างคุ้นเคยกับภาษาของตน ภาษาอังกฤษจึงถูกใช้เป็นภาษากลางในการเรียกชื่อสินค้าเพื่อความเข้าใจมานานนับร้อยปี
แต่ในความเป็นจริง ความสามารถในการแปลภาษาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เมื่อมีการแปลชื่อสินค้าจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย หรือแปลไทยไปเป็นอังกฤษ ความหมายก็อาจเพี้ยนไป หรืออาจเกิดความเข้าใจผิดก็มีให้เห็นตลอดเวลา
ชื่อสินค้าต้องปรากฎในเอกสาร เช่น ใบกำกับสินค้า (Invoice) ใบกำกับการบรรจุสินค้า (Packing List) ใบตราส่งสินค้า (Bill of Transportation) ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออก (Import or Export Permit) เอกสารยกเว้นภาษีของ B.O.I. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด หรือ C/O (Certification of Origin) และเอกสารอื่นที่จำเป็นต่อการนำเข้าและการส่งออก
ชื่อสินค้าในเอกสารเหล่านี้แค่ไม่สัมพันธ์กัน การตีความก็เกิดแล้ว
เมื่อนำชื่อสินค้าพิมพ์ใส่ใบขนสินค้าขาเข้าและขาออก ต้องเลือกพิกัดสินค้าหรือ HS Code (Harmonized System Code) ให้ถูกต้อง พอชื่อสินค้าถูกตีความผิด พิกัดสินค้าก็ต้องเพี้ยนตาม
ยิ่งไปกว่านั้น การผ่านพิธีการศุลกากรปัจจุบันใช้ระบบไร้กระดาษ (Paperless) ส่งข้อมูลกันทางอากาศ ชื่อสินค้ามาตรฐานของศุลกากรถูกบรรจุลงในโปรแกรม ตัวอักษรถูกคือถูก ผิดคือผิด ไม่มีการวินิจฉัยใด ๆ ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ แถมมีระบบตรวจสอบย้อนหลัง (Post Audit)
ชื่อสินค้าที่ผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของศุลกากรย่อมถูกระบบชี้เป้า ถูกตรวจสอบ พิกัดที่สำแดงอาจผิด อาจทำให้ภาษีอากรที่ชำระขาด อาจทำให้สินค้าที่ควรได้รับยกเว้นอากรกลับต้องมาชำระอากรจนกลายเป็นความผิด เกิดค่าปรับ และค่าใช้จ่ายไม่พึงปรารถนาในภายหลัง
ชื่อสินค้าผิดเพี้ยนจึงส่งผลกระทบต่อการนำเข้าและการส่งออกอย่างใหญ่หลวง

ชื่อสินค้าแต่ละประเทศเรียกต่างกันเป็นเรื่องปกติ การแปลความผิดก็เป็นเรื่องปกติ
แต่ชื่อสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อภาษีอากร สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ และสร้างปัญหาที่ใหญ่หลวงโดยผู้นำเข้าและผู้ส่งออกไม่สร้างมาตรการป้องกันใด ๆ กลับเป็นเรื่องไม่ปกติ
หากจะป้องกันก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร
ในเมื่อการผ่านพิธีการศุลกากรใช้โปรแกรมเป็นตัวชูโรง และบรรจุชื่อสินค้าที่เป็นมาตรฐานศุลกากรลงในโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกก็แค่ตรวจสอบชื่อสินค้าภาษาอังกฤษจากระบบก่อน และแจ้งคู่ค้าต่างประเทศให้ใช้ชื่อสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากลจะดีกว่า
องค์การศุลกากรโลก หรือ WCO (World Customs Organization) เป็นผู้กำหนดชื่อสินค้าให้เป็นมาตรฐานสากล และบรรจุแต่ละชื่อลงในแต่ละพิกัด ช่ื่อสินค้าทั่วโลกในระบบจึงเหมือนกัน หาดูง่าย และใช้อ้างอิงให้คู่ค้าต่างประเทศเรียกชื่อสินค้าให้ตรงกันไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญาซื้อขาย การเปิด L/C และการกำหนดชื่อสินค้าลงในเอกสารทุกประเภท
สำหรับประเทศไทย ชื่อสินค้าภาษาอังกฤษที่มีการแปลเป็นภาษาไทยในแต่ละพิกัดถูกจัดทำเป็นหนังสือเรียกว่า “พิกัดอัตราศุลกากร” หรือหนังสือพิกัดโดยกรมศุลกากรเป็นผู้จำหน่าย
หากท่านผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจะหาซื้อไว้ติดสำนักงานก็จะเป็นประโยชน์
อีกทางหนึ่งก็หาดูง่ายจากเว็บไซต์ศุลกากรโดยการค้นหา “customs e tariff service” หรือจะพูดคุยโดยการโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 02-667-7000 ต่อ 20544 หรือสายด่วนศุลกากร 1164 หรือการใช้ Application ต่าง ๆ เพื่อค้นหา
หากตรวจสอบจากหนังสือพิกัดแล้ว ชื่อสินค้าไม่ตรงกันแบบ 100% การปรึกษาหารือจากผู้ชำนาญการ หรือสอบถามเพื่อให้ได้ชื่อสินค้าที่สอดคล้องกับชื่อในระบบย่อมดีกว่า
นอกจากจะดูชื่อสินค้าที่ใช้ในทางสากล และเป็นมาตรฐานศุลกากรแล้ว ในหนังสือพิกัดยังใช้ตรวจเลขพิกัด หรือ HS Code ที่ได้รับแจ้งจากคู่ค้าต่างประเทศ หรือได้รับจากตัวแทนออกของ (Customs Broker) เพื่อดูความสอดคล้อง และความถูกผิดได้ด้วยตนเอง
ถูกคือประโยชน์ของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ผิดก็คือโทษที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ชื่อสินค้าผิดเพี้ยนส่งผลกระทบต่อการนำเข้าและการส่งออกจริง และความเสียหายก็ใหญ่หลวงจริง แต่การป้องกันก็ง่ายนิดเดียวด้วยการยึดชื่อสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากลเท่านั้น

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : April 23, 2024

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

เวียดนามเตรียมสร้างรถไฟความเร็วสูงไปยังจีนภายในปี 2573

ในการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของนาย เวือง ดิ่ง เหวะ (Vuong Dinh Hue) ประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (Ministry of Planning and Investment: MPI) ระบุว่า เวียดนามมีแผนเริ่มสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2 สาย เชื่อมต่อกรุงฮานอยกับประเทศจีนคาดการณ์จะแล้วเสร็จภายในปี 2573 ซึ่งเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

โดยหนึ่งในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่วางแผนไว้จะเชื่อมโยงนครไฮฟอง- จังหวัดกว๋างนิญ- กรุงฮานอย- จังหวัดหล่าวกาย- มณฑลยูนนาน (จีน) ส่วนอีกเส้นทางจะเชื่อมโยงกรุงฮานอยไป- จังหวัดหลั่งเซิน- มณฑลกว่างซี ซึ่งจะผ่านพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น และยังเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานจากบริษัทนานาชาติ ซึ่งบางโรงงานเป็นของนักลงทุนจากจีน

ความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเวียดนาม และจีนได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือหลายฉบับ โอกาสที่นาย Xi Jinping ประธานาธิบดีจีนเยือนกรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2566 ซึ่งรวมถึงการลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงด้วย ในการประชุมร่วมกับนายเล่อจี่ (Zhao Leji) หัวหน้าคณะกรรมาธิการประจำสภาประชาชนแห่งชาติจีน นาย เวือง ดิ่น เวห์ (Vuong Dinh Hue) ประธานสภาแห่งชาติเวียดนามเสนอให้ฝ่ายจีนกำหนดแนวทางทีช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งทางรถไฟจากเวียดนามไปจีนต่อไปยังยุโรป นอกจากนี้ยังเสนอให้ร่วมมือในการสร้างโครงการรถไฟขนาดมาตรฐานหลายโครงการระหว่าง ฮานอย – หล่าวกาย ฮานอย – กว๋างนิญ และฮานอย – หลั่งเซิน

ทั้งนี้ ข้อมูลรัฐบาลเวียดนาม ระบุว่า ในไตรมาสแรกของปี 2567 การค้าระหว่างเวียดนาม-จีนมีมูลค่า 43,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าสำคัญสำหรับภาคการผลิตเวียดนาม ปัจจุบัน ทั้งสองประเทศเชื่อมโยงกันผ่านระบบทางหลวง และทางราง 2 สาย แต่เส้นทางดังกล่าวในเวียดนามค่อนข้างทรุดโทรมและจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างมาก
(จาก https://en.vietnamplus.vn/)

ข้อคิดเห็น สคต
จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และเป็นแหล่งนำเข้าวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตของเวียดนาม และเวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 4 ของจีน ในปี 2566 มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างเวียดนามและจีนมีมูลค่า 171,850 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเวียดนามส่งออก 61,210 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับปี 2565 แม้ว่ามูลค่าการค่าจะมีการเติบโตแต่ เวียดนามเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับจีน เนื่องจากเวียดนามต้องพึ่งพาการนำเข้าจากจีนด้วยสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 35 ของการนำเข้าทั้งหมดของเวียดนาม ทำให้จีนกลายเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของเวียดนาม นอกจากนี้ การค้าชายแดนระหว่างเวียดนาม-จีนเป็นอีกช่องทางการค้าที่สำคัญระหว่างกัน เนื่องจากเวียดนามมีพรมแดนทางบกติดต่อกับสองมณฑลสำคัญของจีน คือมณฑลกวางสีและยูนนาน ในปัจจุบันทั้งสองประเทศขนส่งสินค้าเชื่อมโยงกันผ่านทางบกและทางราง 2 สายคือ ทางเรือบรรทุกสินค้าจากจีน (เมืองฉือเจียจวง) ไปยังกรุงฮานอย (เมือง เอียนเวียน) และรถไฟขนส่งข้ามชายแดนที่วิ่งจากเมืองบิ่ญเซือง (สถานี สองเทิน) ไปยังประเทศจีน แต่เส้นทางดังกล่าวมีสภาพที่ทรุดโทรมและจำเป็นต้องปรับปรุงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ในบริบททางการเศรษฐกิจที่ทั้งเวียดนามและจีนต้องการส่งเสริมสินค้าระหว่างกันให้เติบโตมากยิ่งขึ้น การที่พัฒนาปรับปรุงทางขนส่ง จึงเป็นสี่งที่เวียดนามตระหนักถึงการปรับปรุงมาตรฐานเส้นทางขนส่งทางบก ควบคู่กับการเพิ่มเส้นทางขนส่งทางราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างรถไฟความเร็วสูง เวียดนามกับจีน ซึ่งหากสำเร็จจะเป็นเส้นทางขนส่งที่สำคัญขยายเครือข่ายการขนส่งสินค้าผ่านชายแดนระหว่างเวียดนามและจีนและประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทย ให้มีความสะดวกในการขนส่งสินค้าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.ditp.go.th/post/169550

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.