CEO ARTICLE

หักดิบ

Published on April 16, 2024


Follow Us :

    

รัฐบาลหักดิบเงินดิจิทัลจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง ?

“หักดิบ” เป็นอาการของการตัดสินใจแบบปัจจุบันทันด่วน ไม่พูดพร่ำทำเพลง ไม่ฟังข้อโต้ไม่สนใจหลักการและเหตุผลที่เป็นผลเสียใด ๆ ต้องการตัดจบ หรือต้องการจะเอาอย่างนี้
การหักดิบจะเกิดขึ้นได้ง่ายจากคนที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน
วันที่ 10 เม.ย. 2567 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวันหยุดยาวสงกรานต์ รัฐบาลได้ประกาศไทม์ไลน์ของเงินดิจิทัลจริง ๆ ทั้งที่ก่อนหน้ายังมีทีท่าลังเลใจ แต่ครั้งนี้ รัฐบาลไม่ฟังเสียงค้านทั้งจากนักเมืองด้วยกัน นักวิชาการ ธนาคารแห่งประเทศไทย และประชาชนที่มีความรู้
ทันทีที่ไทม์ไลน์ประกาศออกมา สื่อมวลชนบางค่ายก็ขึ้นหัวข่าวว่า “หักดิบ”
เงินดิจิทัลคนละ 10,000 บาทแจกให้ทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป คนไทยที่จะได้ราว 50 ล้านคน ใช้ในพื้นที่ตามทะเบียนบ้านราว 878 อำเภอ ใช้จ่ายผ่าน Super App ซื้อได้ทุกชนิดยกเว้นสิ่งที่เป็นอบายมุข น้ำมัน บริการ ของออนไลน์ ลงทะเบียนไตรมาส 3 ของปีนี้ และเริ่มใช้จริงไตรมาส 4
รัฐบาลใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ตเป็นนโยบายตอนหาเสียง และประกาศจะไม่มีการกู้เงิน
เงินที่ใช้ราว 500,000 ล้านบาทจะหักออกจากงบประมาณปี 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท นำมาจากงบปี 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท และยืมจาก ธกส. 172,300 ล้านบาท
คำว่า “ยืมเงินจาก ธกส.” (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) รัฐบาลใช้คำว่า “ยืม” ไม่ใช้คำว่า “กู้” แต่นักวิชาการและนักกฎหมายเห็นตรงข้าม และส่งเสียงร้องเตือน
ส่วนประชาชนที่อยากได้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่มีความรู้ ไม่สนใจความถูกหรือผิดทางกฎหมายใด ๆ และที่เป็นแฟนรัฐบาลต่างส่งเสียงเชียร์เพื่อให้ได้เงินเร็ว ๆ
ไม่มีใครรู้ว่านี่คือการหักดิบจริงหรือไม่ และมีอะไรอยู่เบื้องหลัง ?

หากจะมองในข้อเท็จจริง รัฐบาลนี้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
แม้จะไม่ใช่พรรคที่ได้คะแนนเสียงเป็นลำดับ 1 แต่ก็เป็นพรรคลำดับ 2 ที่มีประชาชนเลือกเข้ามาจำนวนมากถือเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องชอบธรรมตามวิถีทางประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
ในเมื่อรัฐบาลใช้ “เงินดิจิทัล” เป็นนโยบายหาเสียงกับประชาชนจึงต้องทำให้ได้
ตอนแถลงนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง ไม่มีใครตอบได้ทันทีว่า “ถูก” หรือ “ผิด” อย่างไร ใครเป็น กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) คงเครียดน่าดู หากไม่ปล่อยนโยบายให้ผ่าน แล้วภายหลังถูกตีความว่าทำได้ ไม่ผิดกฎหมายใด ๆ กกต. ก็ซวย กลายเป็นจำเลยของพรรคการเมือง
ยิ่งไม่แน่ใจแล้วไปห้ามใช้นโยบาย กกต. ก็จะถูกหาว่าลำเอียง ไม่เป็นกลางแทนที่
ในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีใครตัดสินความขัดแย้งได้ดีไปกว่าศาล ในเมื่อไม่แน่ใจก็ต้องปล่อยไปก่อนแล้วมาลุ้นระทึกในภายหลัง ปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของพรรคการเมืองเอง
ตัวอย่างเร็ว ๆ นี้คือ นโยบายแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ กกต. ไม่แน่ใจ ปล่อยให้ใช้หาเสียง ภายหลังเกิดการตีความ และสุดท้ายคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ชี้ว่าเป็นพฤติกรรมที่เซาะกร่อนบ่อนทำลายด้วยมติเอกฉันท์
เงินดิจิทัลครั้งนี้ก็เช่นกัน ตอนหาเสียงเลือกตั้ง นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ต่างก็ว่า การแจกเงินดิจิทัลไม่มีความคุ้มค่า เมื่อได้เป็นรัฐบาลก็ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ แล้วได้คำตอบว่า “ทำได้” แต่ต้องไม่ขัดต่อ พรบ. วินัยการเงินและการคลังมาตรา 53 และ 57 ที่พอจะสรุปได้ว่า การกู้มาแจกต้องเป็นเรื่องที่เร่งด่วน เรื่องที่จำเป็น และมีความคุ้มค่าเท่านั้น
ความไม่แน่ใจว่าเร่งด่วน จำเป็น และคุ้มค่าจริงหรือไม่อาจทำให้รัฐบาลไม่กล้าใช้คำว่า “กู้” แต่เลี่ยงไปใช้คำว่า “ยืม” จาก ธกส. แทน และนำไปสู่การพาดหัวข่าวว่าหักดิบในครั้งนี้
แต่ ธกส. ก็มี พรบ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่ตราขึ้นเพื่อให้ ธกส. มีคณะกรรมการดูแล และเพื่อให้การใช้เงินของ ธกส. ต้องเป็นไปเพื่อเกษตรกรเท่านั้น
เงิน ธกส. ส่วนใหญ่เป็นเงินของเกษตรกร การจะให้รัฐบาลยืม 172,300 ล้านบาทเพื่อนำไปแจกต่อคนทั่วไปจึงเป็นเรื่องน่าคิด และเป็นเรื่องหนักใจของคณะกรรมการ ธกส. แน่
กฎหมายไม่ชัดเจนต้องตีความเป็นเรื่องปกติ กกต. ไม่แน่ใจกฎหมายเป็นเรื่องเข้าใจได้ แต่พรรคการเมืองไม่รู้กฎหมาย ไม่ยึดหลักการและเหตุผลกลับไม่ใช่เรื่องปกติที่จะยอมรับได้
ส่วนประชาชนไม่รู้กฎหมาย ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์ แต่หักดิบการเมืองเป็นเรื่องที่มีให้เห็นเกือบทุกครั้งในการเลือกตั้ง แต่การเมืองหักดิบกฎหมายกลับเป็นเรื่องที่เห็นไม่บ่อยนัก
การหักดิบครั้งนี้กระทบหลายด้าน เช่น ความคุ้มค่าที่นักเศรษฐศาสตร์เตือนมาตลอด ด้านความจำเป็นใน พรบ. วินัยการเงินและการคลัง ด้านกฎหมายของ ธกส. ด้านความโปร่งใส และอื่น ๆ ที่ไม่มีใครตอบได้ว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิดจนอาจมีการร้องเรียน และอาจไปจบในชั้นศาล
นักการเมืองหักดิบกฎหมาย ประชาชนก็หักดิบนักการเมืองย้อนกันไปย้อนกันมา
ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ประชาชนจึงควรฟังความให้รอบด้าน ฟังการเมืองอย่างมีหลักการและเหตุผล ฟังให้รู้ ให้เข้าใจก่อนจะตัดสินใจหักดิบอีกครั้งเลือกนักการเมืองในดวงใจ.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
for Home and Health,
please visit https://www.inno-home.com

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : April 16, 2024

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

มาแล้ว! รถไฟความเร็วสูงฉางก้านเชื่อมหูหนาน เจียงซี และฝูเจี้ยน

เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2567 กรมการขนส่งมณฑลเจียงซีประกาศจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฉางก้านอย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางโลจิสติกส์ของมณฑลเจียงซี เชื่อมโยงฐานการผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั้งในและนอกมณฑล และเป็นแรงขับเคลื่อนการเชื่อมโยงเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑลหูหนาน มณฑลเจียงซี และมณฑลฝูเจี้ยน

รถไฟความเร็วสูงฉางก้านจะเชื่อมโยงจากนครฉางซาในมณฑลหูหนานกับเมืองก้านโจวในมณฑลเจียงซี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนครฉงชิ่ง-เมืองเซี่ยเหมิน มีความยาว 430 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มูลค่าการลงทุน 8.46 หมื่นล้านหยวน ระยะเวลาการก่อสร้าง 5 ปี (คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2572) ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางจากฉางซาไปยังเมืองก้านโจวจาก 4 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 2 ชั่วโมง และการเดินทางจากฉางซาไปยังเมืองเซี่ยเหมินจาก 7 ชั่วโมงจะเหลือเพียง 5 ชั่วโมง นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟดังกล่าวยังเชื่อมกับเครือข่ายรถไฟภายในมณฑล เช่น รถไฟระหว่างเมืองก้านโจว-เมืองเซินเจิ้น รวมถึงเครือข่ายรถไฟทั่วประเทศสายสำคัญของจีน เช่น รถไฟความเร็วสูงนครคุนหมิง-นครเซี่ยงไฮ้ และรถไฟความเร็วสูงกรุงปักกิ่ง-นครกว่างโจว

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2562 มณฑลเจียงซีกลายเป็นมณฑลแห่งที่ 4 ของจีนที่มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงครบทุกเมืองภายในมณฑล ต่อจากมณฑลฝูเจี้ยน มณฑลอันฮุย และมณฑลเจียงซู และปัจจุบัน มณฑลเจียงซีมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2,094 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 7 ของจีน โดยสำนักงานรถไฟหนานชางมีขอบเขตหน้าที่ครอบคลุมกิจกรรมการขนส่งทางรถไฟและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในมณฑลเจียงซีและฝูเจี้ยน และส่วนหนึ่งในมณฑลหูหนานและหูเป่ย คาดการณ์ว่า ภายใน 5 ปีหลังการเปิดใช้งานรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว จะสามารถผลักดัน GDP ของเมืองก้านโจวให้เติบโตได้มากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี

แหล่งอ้างอิง https://m.163.com/dy/article/IRSVJQ1305148TJQ.html

ที่มา: https://thaibizchina.com

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.