SNP NEWS

ฉบับที่ 387

CEO Article

“รถไฟไทยจีน”

snp-387-01

“ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สั่งระงับการลงนามกรอบความร่วมมือรถไฟไทยจีน”

หัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2558 คอลัมน์ลมเปลี่ยนทิศ กล่าวลักษณะนี้ในตอนต้นปัจจุบัน ดร. สมคิด มีฐานะเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เส้นทางรถไฟที่ถูกระงับเป็นสายกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด
ส่วนสาเหตุที่สั่งระงับมี 2 ประการ คือหนึ่งจีนเบี้ยวการซื้อข้าวและยางพาราจากไทย และสองจีนขึ้นค่าก่อสร้างสูงไปถึง500,000 ล้านบาท จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 370,000 ล้านบาทโครงการรถไฟครั้งนี้ เกิดจากรัฐบาลก่อนคิดจะทำรถไฟความเร็วสูง 250 กม. ต่อชั่วโมง แต่รัฐบาลนี้เห็นความไม่คุ้มค่าเพราะความเร็ว 250 กม. ต่อชั่วโมงในวันนี้คงจะเรียกความเร็วสูงไม่ได้แล้ว จีนได้จังหวะจึงเข้ามาให้ความช่วยเหลือจนกลายเป็นรถไฟขนส่งสินค้าแทนการเปลี่ยนจากรถไฟความเร็วสูงมาเป็นรถไฟขนส่งสินค้าจนมาถูกสั่งระงับครั้งนี้ หลาย
คนอาจสงสัยทิศทางการพัฒนาโลจิสติกส์ไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป ???คำว่า “โลจิสติกส์” ปัจจุบัน ใคร ๆ ก็รู้จัก คนจำนวนมากใช้คำนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ความหมาย บางท่านก็คิดว่าโลจิสติกส์คือการขนส่งไปเลยก็มีโลจิสติกส์ไม่ใช่การขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางเรือ ทางรถยนต์ หรือทางรถไฟไม่ใช่คลังสินค้า และก็ไม่ใช่ท่าเรือที่ใช้ขนถ่ายสินค้าในความเป็นจริงโลจิสติกส์ คือ กระบวนการบริหารจัดการเกี่ยวกับการรวบรวม การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการกระจายสินค้าและวัตถุดิบตั้งแต่ต้นทางแหล่งผลิต เข้าสู่กระบวนการผลิตจนนำสู่ปลายการบริโภค
โลจิสติกส์คือ กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรมที่มีอยู่จำนวนมากให้สันพันธ์กัน ให้ได้ประสิทธิภาพ และให้มีต้นทุนที่เหมาะสมสถาบันการศึกษาบางแห่งจัดโลจิสติกส์ให้อยู่ในสาขาวิศวกรรม บางแห่งให้อยู่สาขาการบริหารธุรกิจ และบางแห่งก็ให้อยู่สาขาสาระสนเทศตามแต่เป้าหมายของแต่ละสถาบันการศึกษาที่จะตั้งการขนส่ง การคลังสินค้า การบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เครื่องบิน รถบรรทุก รถไฟและท่าเรือเพียงอย่างเดียวโดด ๆ จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลจิสติสก์เท่านั้นดังนั้น การที่คนจำนวนหนึ่งเรียกกิจกรรมเพียงอย่างเดียวว่า โลจิสติกส์ จึงไม่ค่อยจะถูกนัก รถไฟไทยจีนที่ถูกระงับก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลจิสติกส์แล้วโลจิสติกส์ มีความสำคัญอย่างไร ???สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยในภาพรวมปี 2556 อยู่ร้อยละ 14.2 ของ GDP ซึ่งลดลงจากปี 2554 ที่อยู่ที่ร้อยละ 18.6มันดูเหมือนว่า ไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศดีขึ้นความหมายที่พอจะเข้าใจง่าย ๆ คือ หากเอาเฉพาะมูลค่าการผลิตสินค้า 1 ชิ้น ในปี2554 อย่างเดียว สมมติอยู่ที่ 100 บาท เมื่อสินค้าผ่านกิจกรรมการรวบรวม การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการกระจายไปสู่ผู้บริโภค สินค้าราคา 100 บาท ก็จะกลายเป็น 118.60 บาท ทันทีพอมาปี 2556 ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยลดลง มูลค่าสินค้าที่ส่งถึงมือผู้บริโภคก็ลดลงเหลือ114.20 บาท ทำให้คนไทยบริโภคสินค้าถูกลงแต่พอนำต้นทุนของไทยไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นพบว่า ในปี 2554 ต้นทุนโลจิสติกส์ของมาเลเซียอยู่ที่ร้อยละ 13, สิงคโปร์ 7, ญี่ปุ่น 10.5, ยุโรป เฉลี่ย 11 และสหรัฐ9.5 (WWW: THAI-AEC.COM)คำตอบจึงออกมาชัด ๆ ว่า สินค้าราคา 100 บาท กว่าจะมือผู้บริโภค ไทยกลับมีราคาสูงกว่าประเทศอื่นเขา จนกลายเป็นว่าคนไทยบริโภคสินค้าราคาสูงกว่าเพราะต้นทุนโลจิสติกส์ของเราสูงกว่าผลที่ตามมาอีกประการหนึ่งก็คือ สินค้าส่งออกของไทยก็จะมีราคาขายสูงกว่าจนทำให้สู้ประเทศคู่แข่งขันในภูมิภาคเดียวกันลำบากหันกลับมาดูรถไฟไทยจีนที่ไม่รู้ว่า สุดท้ายแล้วจะถูกยกเลิกจริง ๆ หรือไม่รถไฟทุกโครงการ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความช่วยเหลือของประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือชาติมหาอำนาจอื่นเงินช่วยเหลือระดับแสนล้าน หรือล้านล้านบาท เขาคงไม่ให้ความช่วยเหลือกันฟรี ๆบางโครงการไทยก็ต้องผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ย บางโครงการไทยก็ต้องร่วมทุนด้วยความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจที่ให้กันเปล่า ๆ คงหายาก ส่วนใหญ่ต้องมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รัฐบาลชุดนี้ก็เลยเจรจาให้จีนช่วยซื้อข้าวและยางพาราจากไทยส่วนด้านไทย นอกจากไทยต้องร่วมทุนโดยการผ่อนเงินช่วยเหลือที่ได้รับในลักษณะเงินกู้แล้ว ไทยยังต้องนำเข้าตัวรถไฟ รางรถไฟ เทคโนโลยี การก่อสร้าง และการบริหารจัดการให้รถไฟเดินได้ในอนาคตในระหว่างการก่อสร้าง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจะมีงานทำตามไปด้วย คนไทยจะได้รับการจ้างงานจำนวนมาก รายได้จะสะพัดไปสู่คนระดับล่างจนเศรษฐกิจถูกกระตุ้นขึ้นอย่างแรงหากมองด้านนี้ ใคร ๆ ก็ฟันธงว่า ไทยได้ประโยชน์เนื้อ ๆแต่หลังจากนั้น ไทยต้องนำเข้าอุปกรณ์ รางรถไฟ ตัวรถไฟ และเทคโนโลยีจากจีนที่มีมูลค่ามหาศาล ไม่ว่าโครงการจะเป็น 370,000 หรือ 500,000 ล้านบาท ในมุมกลับกัน โครงการนี้ก็จะไปกระตุ้นเศรษฐกิจจีนกลับคืนธุรกิจที่เกี่ยวข้องในประเทศจีนและคนของจีนก็จะมีงานทำจำนวนมากขึ้นตามไปด้วยยิ่งไปกว่านั้น หลังจากโครงการนี้เปิดดำเนินการ จีนก็จะใช้รถไฟสายนี้เป็นช่องทางระบายสินค้าที่มีจำนวนมหาศาลออกทางภาคใต้ของจีนผ่านไทยออกสู่ทะเลไปยังประชาคมโลกวันนี้ การผลิตของจีนมีมากมหาศาลจนอยากหาที่ระบายมาก ๆ และต้นทุนถูก ๆจีนมองว่า สินค้าทางใต้ของจีนผ่านทางรถไฟเข้าแดนไทยออกสู่ทั่วโลกย่อมมีต้นทุนขนส่งถูกกว่า ทำให้จีนขายสินค้าได้ง่ายกว่า อันเป็นประโยชน์ที่จีนจะได้รับในระยะยาว และนี่
คือเหตุผลที่จีนอยากให้มีรถไฟสายนี้หากรัฐบาลจีน หรือรัฐบาลชาติใดก็ตามเห็นประโยชน์แบบนี้ก็ต้องมาโน้มน้าวรัฐบาลไทย
ให้เร่งก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นรถขนส่งสินค้าหรือรถไฟความเร็วสูงหากรัฐบาลไทยไม่เล่นด้วย ชาติมหาอำนาจที่มีเงินและเทคโนโลยีในมือก็ต้องใช้เงินและเทคโนโลยีเข้าล่อรัฐบาลไทยหลาย ๆ รัฐบาลที่ผ่านมาก็ถูกโน้มน้าวให้สร้างถนน สร้างทางรถไฟ หรือมุ่งสู่รถไฟความเร็วสูงไม่ต่างกันแล้วก็ประกาศว่า นี่คือการพัฒนาโลจิสติกส์รัฐบาลมีนักวิชาการหลายคน นักวิชาการย่อมรู้ว่า หากจะพัฒนาโลจิสติกส์กันจริง ๆ มัน
ต้องพัฒนากระบวนการบริหารจัดการอย่างจริงจังควบคู่กันไปด้วยมันต้องไม่ใช่การปล่อยให้เอกชนพัฒนากันเองและแข่งขันกันเองจนขาดเอกภาพ ขาดประสิทธิภาพ และทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์อยู่ในระดับสูงอย่างที่เห็นหากจะมองง่าย ๆ ประเทศที่ไม่มีถนนดี ๆ ไม่มีรถไฟดี ๆ ไม่มีสนามบินดี ๆ แต่มีกระบวนการบริหารจัดการดี ประเทศนั้นก็จะได้ประสิทธิภาพและต้นทุนที่ดีตามไปด้วยตรงกันข้าม ประเทศที่เอาแต่ขยายถนน สร้างทางรถไฟ สร้างสนามบินใหญ่โต แต่ไม่มีระบบการพัฒนาคน ไม่พัฒนากระบวนการบริหารจัดการ สุดท้ายก็ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ามันเหมือนกับการซื้อสมาร์ทโฟนมาใช้ แต่ใช้แค่การโทรเข้า โทรออก และถ่ายรูปเท่านั้นแล้วไปคุยมีเทคโนโลยีสูงรัฐบาลที่ไม่ใส่ใจพัฒนาคน ไม่สนใจกระบวนการบริหารจัดการอย่างจริงจัง มันก็คือต้นเหตุที่ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยสูงกว่าประเทศอื่นเขาหากการสั่งระงับการลงนามกรอบความร่วมมือรถไฟไทยจีนครั้งนี้เกิดจากความไม่คุ้มค่าและทำให้ไทยหันกลับมาทบทวนจำนวนเงินมหาศาลที่ไทยต้องร่วมทุนและผ่อนชำระในครั้งนี้ก็นับว่าเป็นบุญของประเทศไทยแต่หากไทยจะหันมาทบทวนการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการอย่างแท้จริง มันก็ยิ่งกว่าสร้างกุศลให้ไทยได้วางรากฐานการพัฒนาโลจิสติกส์ให้ถูกทางตามไปด้วยยิ่งมาประจวบกับการเบี้ยวซื้อข้าวและยางพาราจากไทยของรัฐบาลจีน มันจึงเป็นเรื่องน่าคิดมากยิ่งขึ้น จีนได้ประโยชน์จากรถไฟครั้งนี้ แต่ทำไมจึงเบี้ยวในสถานการณ์การเมืองโลกที่ไทยถูกโดดเดี่ยวจากชาติตะวันตกในวันนี้ จีนอาจมองไทยเป็นลูกไก่ในกำมือก็ได้ใครก็ไปรู้ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้วหากรัฐบาลต้องยกเลิกรถไฟไทยจีนนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม มิสู้เอาเงินจำนวนหนึ่งมาพัฒนากระบวนการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้เป็นเอกภาพซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาโลจิสติกส์โดยตรงมันน่าจะดีกว่าเป็นไหน ๆ

สิทธิชัย ชวรางกูร

The Logistics

snp-387-02
ญี่ปุ่นโดดร่วมวงบริษัทร่วมทุนท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมาญี่ปุ่นร่วมวงบริษัทร่วมทุนทวาย ครม.รับทราบญี่ปุ่นโดดร่วมวงบริษัทร่วมทุนทวาย เตรียมลงนามสัญญา 3 ฝ่าย ไทย เมียนมา ญี่ปุ่น 14 ธ.ค. 58 นี้วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2558 – พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.ได้รับทราบการเข้าร่วมทุนของญี่ปุ่นในบริษัททวาย เอสอีแซด ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รวมทั้งให้ความเห็นชอบในร่างสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นของบริษัท ทวาย เอสอีแซด ดีเวลลอปเมนท์ ฉบับที่ 2 ซึ่งจะมีการลงนามระหว่าง 3 ฝ่ายระหว่างไทย เมียนมา และญี่ปุ่น ในช่วงการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงเพื่อพัฒนาโครงการทวาย (เจเอชซี) ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้มีการเจรจากับประเทศญี่ปุ่นในความร่วมมือในการลงทุนและพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมา โดยจะเข้าร่วมในการบริหารโครงการผ่านนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ซึ่งไทยกับพม่าได้จัดตั้งขึ้นภายใต้ชื่อบริษัท ทวาย เอสอีแซด ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด โดยถือหุ้นฝ่ายละ 50% วงเงินลงทุนไม่เกินฝ่ายละ 100 ล้านบาท โดยหารือ 3 ฝ่าย คือ ไทย เมียนมา และญี่ปุ่น ล่าสุดญี่ปุ่นได้ตอบรับที่จะเข้าร่วมในเอสพีวีแล้ว โดยการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า) ในสัดส่วนเท่ากัประเทศไทย และพม่าในสัดส่วนประเทศละ33.33% และกำหนดวงเงินลงทุนในเอสพีวี ประเทศละ 100 ล้านบาทเท่าเดิมนอกจากนี้กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นว่าการเข้าร่วมในเอสพีวี ของญี่ปุ่นจะทำให้การพัฒนาแผนแม่บทของโครงการฯทวายมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมทั้งจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของโครงการในสายตานักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม มีศักยภาพทางการเงิน ในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเจบิค มีความพร้อมในทางการเงินในการสนับสนุนโครงการฯที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นมาตรฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จะช่วยให้ภาพลักษณ์ของโครงการฯทวายเป็นที่ยอมรับในการพัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่กับสิ่งแวดล้อมด้วย

ที่มา : http://www.marinerthai.net/forum/index.php?topic=7428.0

AEC Info

snp-387-03

ลำดับรายได้ของประชากรในกลุ่ม AEC
รายได้ประชากรของ สิงคโปร์ และบรูไนจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศทั้งสอง นิยมบริโภคสินค้าที่มีตราสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งสินค้าที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันขณะที่มาเลเซียจัดอยู่ใน กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ผู้บริโภคชาวมาเลยเซียส่วนใหญ่อยู่ในวัยทาน จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรกสะท้อนได้จากการใช้จ่าย ซื้อสินค้าดังกล่าวในระดับสูง และสำหรับ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เวียดนาม และ สปป.ลาว จัดอยู่ในกลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต่ำ ขณะที่กัมพูชาและพม่า จัดอยู่ในประเทศที่มีรายน้อย ทำให้ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้กำลังซื้อไม่สูง
สำหรับประเทศที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูงสุดเมื่อเทียบกับGDP ได้แก่ฟิลิปปินส์ (74% ของ GDP) เวียดนาม (67%) อินโดนีเซีย (59%) ไทย (55%)มาเลเซีย(50%) และสิงคโปร์ (41%) และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ เอื้อต่อการลงทุนพบว่าคุณภาพของคนในประเทศอาเซียน สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ เอื้อต่อการประกอบ ธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน ได้แก่
AEC Info
1. ประเทศที่ ประชากรมีการใช้คอมพิวเตอร์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ตามลำดับ
2. ประเทศที่มีสัดส่วนต้นทุนการจัดตั้งธุรกิจต่ำสุดเมื่อเทียบกับรายได้ต่อ บุคคล (GNIPer capita) ได้แก่ สิงคโปร์ (0.7%) ไทย (6.3%) บรูไน (9.8%) มาเลเซีย(11.9%) และลาว (12.3%) ตามลำดับ
3. ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งธุรกิจน้อยที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ (3 วัน) มาเลเซีย (11วัน) ไทย (32 วัน) เวียดนาม (50 วัน) และฟิลิปปินส์ (52 วัน)
4. ประเทศที่ มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำสุดคือ สิงคโปร์ (5.4%) บรูไน (5.5%)มาเลเซีย (6.1%) ไทย(7.0%) และฟิลิปปินส์ (8.8%)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยสามารถอาศัยความได้เปรียบจากความเชียวชาญในการผลิต
สินค้า หลากหลายประเภท และสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไปตลาด AEC โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไทยที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงเช่น เช่น อาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต
http://www.thai-aec.com/654#ixzz3tmt7GLq5

“สมคิด”เผยตั้งเป้าส่งออกปี 59 โต 5% ชู 7 ยุทธศาสตร์สำคัญผลักดันส่งออกขยายตัวนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่าหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) เพื่อติดตามความก้าวหน้าด้านการค้าระหว่างประเทศ และแผนการผลักดันการส่งออกปี 59 ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้นำเสนยุทธศาสตร์การค้าต่างประเทศต่อที่ประชุม โดยเน้นการปรับโครงสร้างทางการค้าและการเดินตลาดเชิงรุก พร้อมทั้งตั้งเป้าผลักดันการส่งออกในปี 59 ให้ขยายตัว 5% ซึ่งยอมรับว่าเป็นเป้าที่ท้าทาย จากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นและฐานการส่งออกที่ต่ำขณะที่ภาพรวมปีหน้าเชื่อว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นและการตั้งเป้าสูงไว้ก่อนน่าจะเป็นผลดี ส่วนการส่งออกในปีนี้ ไม่ได้ประเมินตัวเลขที่ชัดเจน“ส่งออกไม่ถือว่าเป้าสูงไปมาก ให้ดูที่ปีนี้ ช่วงต้นปีว่าการส่งออกเท่าไหร่ และเมื่อดูจากเศรษฐกิจปีหน้า มีการประเมินว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3.6% และกระทรวงพาณิชย์ตั้งใจจะวิ่งแข่ง ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ตั้งสูงไว้ก่อน”นายสมคิด กล่าวทั้งนี้ เชื่อมั่นว่ากระทรวงพาณิชย์จะมีแผนงานที่ดี และการทำงานของรัฐบาลก็ไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง ซึ่งจากการหารือร่วมกับภาคเอกชนเมื่อวานนี้ (3 ธ.ค.) ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันในหลายๆด้าน หนึ่งในนั้นคือเคณะกรรมการดูเรื่องการส่งออกซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้นำในการเดินหน้าเรื่องนี้

คุยข่าวเศรษฐกิจ

snp-387-04
ที่ประชุม ยังได้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุดในการศึกษาเรื่องของ TPP ภายใน 1 ปีโดยมอบหมายให้นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน ซึ่งระหว่างนี้จะมีการพบปะพูดคุยกับทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบที่สุดนอกจากนี้ ที่ประชุมยัง มีแนวทางจะสนับสนุนให้ไทยเป็น Hub ของอัญมณีในปีหน้า ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า Hub อัญมณีจะมีมูลค่านับแสนล้านบาทโดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดูเรื่องมาตรการทางภาษี คาดว่าจะใช้เวลา 1-2เดือน ก่อนที่กระทรวงพาณิชย์ จะรับไปดำเนินการต่อด้านนางอภิรดี กล่าวว่า ในการประชุมพกค. ในครั้งนี้ได้มีการพิจารณายุทธศาสตร์ในการผลักดันการส่งออกปี 59 ซึ่งมี 7 ยุทธศาสตร์สำคัญ ยุทธศาสตร์แรกคือ การเปิดประตูการค้าและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความตกลง TPP, RCEP,EU และ ASEAN,ยุทธศาสตร์ที่2 เร่งรัดขยายตลาดส่งออกเชิงรุก โดยใช้ความต้องการตลาดเป็นตัวนำการผลิต,ยุทธศาสตร์ที่3 ส่งเสริมการค้าชายแดน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน
ยุทธศาสตร์ที่4 ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจและลงทุนในต่างประเทศยุทธศาสตร์ที่5 การปรับโครงสร้างการค้าสู่การค้าบริการ เพื่อเป็นจักรกลใหม่ในการขับเคลื่อนการค้า โดยมีธุรกิจบริการที่ให้ความสำคัญ 6 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจบันเทิงและคอนเทนต์ ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการต้อนรับ และธุรกิจบริการวิชาชีพยุทธศาสตร์ที่6 ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้เป็นนักรบเศรษฐกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และและยุทธศาสตร์สุดท้าย สร้างมูลค่าเพิ่มในภาคอุตสาหกรรมการส่งออก
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com