CEO ARTICLE

กำไล EM

Published on March 16, 2021


Follow Us :

    

“สรยุทธ์” ติดกำไล EM ข้อเท้าซ้าย พ้นคุกหลังต้องขังในเรือนจำ 1 ปี 2 เดือน 6 วัน

วันอาทิตย์ที่ 14 มี.ค. 64 ข่าวเกือบทุกสำนักรายงานเรื่องข้างต้น
คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ถูกศาลตัดสินในความผิดฐานสนับสนุนพนักงาน อสมท. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐแก้ไขค่าโฆษณาในปี 2558 ที่มีความเสียหาย 138 ล้านบาท
การต่อสู้ 3 ศาล ในที่สุดศาลฎีกาตัดสินให้จำคุกรวม 12 ปี และลดโทษเหลือจำคุก 6 ปี 24 เดือน หรือราว 8 ปี
ตลอดเวลาที่จำคุกราวปีเศษ คุณสรยุทธมีความประพฤติดี สำนึกผิด ทำตัวเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีในราชทัณฑ์ และช่วยเหลืองานตลอดเวลาจนได้รับการอภัยโทษตามหลักเกณฑ์ถึง 2 ครั้ง
ล่าสุดเหลือโทษจำคุกอีก 2 ปี 4 เดือน 14 วัน
การพักโทษครั้งนี้ คุณสรยุทธได้ออกจากเรือนจำ แต่ต้องอยู่บ้านตามและพื้นที่ที่กำหนดไว้ ต้องติดกำไล EM 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 14 เดือน จะไปไหนต้องขอและต้องได้รับอนุญาตก่อน ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ต้องประกอบอาชีพสุจริต และอื่น ๆ
ข่าวนี้มีแต่คนชื่นชมไม่ว่าฝ่ายที่ชื่นชอบหรือไม่ชอบคุณสรยุทธ์ก็ตาม

EM มาจากคำว่า Electornic Monitoring หรือระบบการตรวจจับด้วยอิเล็กทรอนิกส์
EM เป็นอุปกรณ์ระบุตำแหน่งและที่อยู่ของบุคคล ส่งสัญญาณเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมงไปยังห้องควบคุมของเจ้าหน้าที่โดยแจ้งพิกัดที่อยู่ของผู้ถูกพักโทษทุก ๆ 2 นาที
เมื่อนำระบบนี้มาทำเป็นกำไลสวมใส่ข้อเท้าผู้ได้รับการพักโทษจึงเรียกว่า “กำไล EM”
กระทรวงยุติธรรมนำมาใช้ในประเทศไทยในวันที่ 1 มี.ค. 2561 เพื่อช่วยลดความแออัดให้แก่ผู้ต้องขัง และเป็นการให้รางวัลแก่ผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีให้มีโอกาสอยู่กับครอบครัว สร้างความอบอุ่น และสามารถทำอาชีพสุรจริตได้ตามหลักเกณฑ์
เมื่อออกมาอยู่บ้านแล้ว หากผู้สวมกำไล EM ประพฤติตนไม่ดี ผิดเงื่อนไข สร้างปัญหาให้สังคม ทำผิดกฎหมาย หรือผิดเงื่อนไขก็จะถูกนำกลับเข้าเรือนจำอีก
ผู้สวมกำไล EM มีหน้าที่ต้องชาร์จไฟสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้แบตเตอรี่ลดเหลือน้อยกว่า 19%
เว็บไซต์ ThaiPBS เผยแพร่ 25 ก.ย. 63 รายงานผู้ที่จะได้สวมกำไล EM มี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กระทำผิดไม่รุนแรง กลุ่มรอการลงโทษ และกลุ่มที่ได้รับการพักโทษ
แนวคิดการสวมใส่กำไล EM ให้แก่ผู้ต้องโทษที่มีความประพฤติดีได้มีโอกาสอยู่บ้าน อยู่ในสังคมปกติถือเป็นเรื่องดีมาก ควรสนับสนุน และควรประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
แต่น่าเสียดายที่กระทรวงยุติธรรมประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป ประชาชนจึงลืมเลือนชั่วขณะจนกว่าจะมีข่าวผู้ต้องขังที่มีชื่อเสียงได้สวมกำไล EM มีนักข่าวไปทำข่าว เช่นกรณีคุณเบนซ์ เรสซิ่งในอดีต หรือคุณสรยุทธ์ในวันนี้ ประชาชนจึงจะนึกได้
ผู้ต้องขังหลายคนไม่ใช่คนเลวโดยสันดาน บางคนทำผิดเพียงชั่ววูบ บางคนมีพื้นฐานเป็นคนดี มีชีวิตดี ๆ อยู่ในสังคม มีงานทำ มีชื่อเสียง แต่ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองจึงถูกหลอกใช้ให้ทำผิดกฎหมาย และถูกเสี้ยมสอนให้ปฏิเสธทั้งที่หลักฐานชัดเจนจนถูกศาลสั่งจำคุกก็มีให้เห็น
หากกระทรวงยุติธรรมจะทำการประชาสัมพันธ์กำไล EM ภายในเรือนจำให้มากขึ้น ให้รับรู้เงื่อนไขความประพฤติต้องดีอย่างไร ต้องช่วยเหลือราชทัณฑ์อย่างไร ภาพและเรื่องราวของผู้ที่ได้รับโอกาสสวมกำไลเมื่ออยู่ภายนอกก็จะทำให้ผู้ต้องขังมีเป้าหมายดีขึ้นในเรือนจำ
ด้านภายนอก เว็บไซต์เกี่ยวกับเงื่อนไขผู้สวมกำไล EM อย่างเดียวคงไม่เพียงพอแล้ว
การทำคลิปเพื่อออกสื่อโซเซียลต่าง ๆ ให้มากขึ้นก็จะทำให้ผู้ทำผิดกฎหมาย ไม่ยอมรับผิด และพยายามหลบหนีกล้ายอมรับผิด เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีความหวังแม้ถูกจองจำโดยการทำตนให้อยู่ในเงื่อนไขเพื่อให้มีโอกาสสวมกำไล EM
ไม่ใช่ใครก็ได้ที่อยู่เรือนจำมานาน หรือมีเส้นสายดีก็ได้สิทธิติดกำไล EM
กระทรวงยุติธรรมจึงควรส่งเสริมบทบาทที่ดีของกำไล EM ให้มากกว่านี้ และควรเผยแพร่มาตรการควมคุมความประพฤติเมื่อผู้สวมใส่อยู่ภายนอกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้สังคมมากขึ้น
กำไล EM ส่งเสริมสังคมได้มาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมว่าจะให้ได้มากเพียงใด
อย่าให้กรณีการสวมใส่กำไล EM คุณสรยุทธ์จางหายไปง่าย ๆ หากทำได้ก็ควรนำคนมีชื่อเสียงทุกคนที่ได้โอกาสนี้มาเป็น Presenter ทำคลิปเผยแพร่ทางโซเซียล มาเป็นผู้บรรยาย มาออกสื่อ มากระตุ้นการรับรู้ มาทำการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ที่มากยิ่งขึ้น
อย่างน้อยการได้รับอภัยโทษ ส่วนหนึ่งก็เป็นคุณงามความดีของสถาบันกษัตริย์ไทยที่ควรเผยแพร่ และเป็นช่องทางแสดงความกตัญญูของผู้ที่เคยได้โอกาสสวมกำไล EM

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : March 16, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

เนเธอร์แลนด์กลายเป็นศูนย์กลางการนำเข้า-ส่งออกผลไม้ทองคำ “อะโวคาโด (Avocado)” ในยุโรป

เนเธอร์แลนด์กำลังพัฒนาการผลิตอะโวคาโดจากแหล่งผลิตอื่นให้เป็น ‘avocado hub’ ประตูสู่ยุโรป โดยในปี 2563 มีการนำเข้าอะโวคาโดมากกว่าปี 2562 ถึง 19% เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำเข้าอะโวคาโดรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และยังเป็นผู้ส่งออกอะโวคาโดประเภท non-producing exporter รายใหญ่ที่สุด ซึ่งกว่า 90% เป็นการ re-export ไปยังประเทศส่วนใหญ่ในสหภาพยุโรป — รายงานตัวเลขจากสำนักสถิติเนเธอร์แลนด์ CBS

การนำเข้าอะโวคาโดของเนเธอร์แลนด์จากนอกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นจาก 15 ล้านกิโลกรัมในปี 2543 เป็น 373 ล้านกิโลกรัมในปี 2563 ตั้งแต่ปี 2555 เนเธอร์แลนด์นำเข้าอะโวคาโดจากประเทศนอกสหภาพยุโรปมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรปรวมกัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเปรู, ชิลี โคลอมเบีย แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก ในขณะนี้ เนเธอร์แลนด์มีสัดส่วนของการนำเข้าอะโวคาโดจากประเทศนอกสหภาพยุโรปถึง 63 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอะโวคาโดส่วนใหญ่ที่เดินทางมาถึงเนเธอร์แลนด์ถูกกำหนดให้ส่งออกซ้ำ (re-export) หรือเป็นการขนส่งแบบกึ่งขนส่ง (quasi-transit) โดยจากการนำเข้าส่วนหนึ่งประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ถูกกำหนดไว้สำหรับตลาดในประเทศเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม การนำเข้าและส่งออกอะโวคาโดกลายเป็นความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ของเนเธอร์แลนด์ นอกจากการขนส่งและการจัดจำหน่ายแล้ว ยังรวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การทำให้สุก การควบคุมคุณภาพ และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอะโวคาโดส่วนใหญ่เดินทางมาถึงท่าเรือรอตเตอร์ดัมและมักจะเดินทางออกจากเนเธอร์แลนด์โดยรถบรรทุก

ชาวดัตช์บริโภคอะโวคาโดมากขึ้นถึง 4 เท่า หรือประมาณ 12 ครั้งต่อปี การเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศ โดยชาวดัตช์พึ่งได้รับการแนะนำให้รู้จักกับอะโวคาโดเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น และเริ่มเป็นที่รู้จักและขายอย่างแพร่หลายในซูเปอร์มาร์เก็ต อ้างอิงจากสำนักข่าว NOS อย่างไรก็ตาม นักสิ่งแวดล้อมเตือนว่าการปลูกอะโวคาโดใช้น้ำเป็นจำนวนมากและป่ากำลังถูกเสียสละเพื่อตอบสนองความต้องการ ทำให้พื้นที่ในแหล่งผลิตลดความหลากหลายทางชีวภาพและทำลายระบบนิเวศ นาย Manuel Ochoa Ayala นักวิจัยชาวเม็กซิกันกล่าวว่า การเติบโตของอะโวคาโดทำให้เกิด ‘ความหายนะของสภาพแวดล้อม’ และเรียกร้องให้ผู้บริโภคคำนึงถึงสิ่งนี้มากขึ้น

บทวิเคราะห์และผลกระทบ (ต่อเศรษฐกิจไทย)
ในฐานะผลไม้ใหม่ที่มาจากต่างประเทศและได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากการแนะนำเมื่อเพียง 15 ปีก่อน ทำให้อะโวคาโดครองแชมป์ผลไม้ที่บุกตลาดยุโรปได้ประสบความสำเร็จมากที่สุดและเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้คนในยุโรปอีกด้วย เนื่องจากรสชาติที่อร่อย หอม มันส์ รับประทานง่าย ราคาที่เข้าถึงได้ และสามารถประยุกต์ในมื้ออาหารของชาวตะวันตกได้เป็นอย่างดี ทั้งแซนวิช มื้อเช้าและมื้อกลางวันผสมกับเมนูไข่ พาสต้า สลัด ฯลฯ ทำให้ในปัจจุบัน อะโวคาโดเป็นผลไม้ยอดนิยมและเห็นได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาร์เก็ตของเนเธอร์แลนด์

บริษัท Nature’s Pride ในเมือง Maasdijk เป็นหนึ่งในบริษัทนำเข้าและมีกระบวนการทำให้อะโวคาโดสุกก่อนส่งไปขาย โดยเริ่มต้นธุรกิจเมื่อ 15 ปีที่แล้ว พวกเขาได้พยายามเพิ่มความนิยมการบริโภคอะโวคาโดจากการประชาสัมพันธ์ในตอนนั้น โดยเริ่มบอกผู้บริโภคในซูเปอร์มาร์เก็ตว่าอะโวคาโดอร่อยและมีประโยชน์มาก นาง Adriëlle Dankier ผู้อำนวยการฝ่ายการค้าของบริษัทกล่าวว่า เธอเองอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อขายผลไม้จากต่างประเทศ “จริง ๆ แล้วเราคิดว่ามะม่วงจะได้รับความนิยมมากกว่าอะโวคาโด แต่ความเก่งกาจของอะโวคาโดทำให้มันเติบโตและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ” โดย บริษัท Nature’s Pride กำลังทำงานร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกเพื่อผลิตผลอย่างยั่งยืนและมีโครงการเพื่อลดการใช้น้ำในการเพาะปลูกอะโวคาโด

เป็นโอกาสของเกษตรกรไทยที่สนใจผลิตผลไม้ใหม่ ๆ ส่งออก “อะโวคาโด” ถือเป็นผลไม้ทองคำในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม สินค้าไทยที่พอจะแข่งขันกับอะโวคาโดได้ก็คือ “มะม่วง” หากมีการประชาสัมพันธ์และมีการนำเสนอเมนูให้เข้ากับอาหารของต่างประเทศมากขึ้น มีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติอย่างแพร่หลายเหมือนที่อะโวคาโดบรรลุผลสำเร็จเป็นตัวอย่างไปก่อนหน้านี้แล้ว

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/722513/722513.pdf&title=722513&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.