CEO ARTICLE

Covid Delivery


Follow Us :

    

Delivery เป็นศัพท์ที่ใช้ในกิจกรรมทาง Logistics ซึ่งหมายถึง “การส่งมอบ”

ในอดีต การสั่งซื้อสินค้าไม่ว่าจะซื้อจากผู้ขายในหรือต่างประเทศ หากต้องการให้สินค้ามาส่งมอบถึงบ้านหรือถึงมือผู้ซื้อ คำที่เรียกมักใช้คำว่า “Door to Door”

แต่วัฒนธรรมการซื้อขายและการส่งมอบสินค้าของแต่ละประเทศแตกต่างกัน การตีความก็แตกต่างกัน คำว่า “Door to Door” หรือ “ถึงประตู” หรือ “ถึงมือ” จึงน่าจะเกิดความขัดแย้ง ประตูอยู่ตรงไหน ? ชายแดนหรือเปล่า ? แล้วรวมภาษีไหม ?

หลายสิบปีมานี้ คำว่า “Door to Door” จึงเลือนหายไป สภาหอการค้านานาชาติ หรือ ICC (International Chamber of Commerce) ได้ส่งเสริมให้ใช้คำว่า Delivery แทนที่ หากเป็นการซื้อสินค้าจากต่างประเทศให้ส่งมอบถึงมือผู้ซื้อจึงมีคำ Delivery ให้เลือก แต่ที่นิยมมาก คือ

DDP (Delivery Duty paid) หมายถึง ราคาสินค้าต่างประเทศส่งมอบถึงมือผู้ซื้อในไทยที่รวมค่าระวางเรือ ค่าภาระท่าเรือ ค่าใช้จ่ายอื่นพื่อการเคลื่อนย้าย ค่าพิธีการศุลกากร และค่าภาษีอากรขาเข้าในประเทศผู้ซื้อไปด้วย

การซื้อสินค้านำเข้าแบบ DDP จึงให้ความสะดวกต่อผู้ซื้อ แต่สิ่งที่ผู้ซื้อต้องไม่ลืมคือ ความสะดวกสบายทุกอย่างมีต้นทุน และทุก ๆ ต้นทุนจะถูกเพิ่มเข้าไปในราคาสินค้า ผู้ซื้ออาจรู้ หรืออาจไม่รู้รายละเอียดที่ผู้ขายบวกเพิ่มไปก็ได้

ปัจจุบัน Delivery ยังเป็นที่นิยมในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ในประเทศอีกด้วย แต่ใครจะรู้ ว่า สภาวะการแพร่ Covid-19 นี้จะเกิดสถานการณ์ Covid Delivery หรือการส่งมอบไวรัสขึ้นมาจนส่งเสริมให้เป็น Super Spreader อย่างไม่รู้ตัว

Super Spreader คือการแพร่กระจายไวรัสจากหนึ่งคนไปสู่หลายคน หรือการทำให้คนติดเชื้อเพิ่มจำนวนมาก ๆ เกินกว่าค่าเฉลี่ย

ศ. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวบรรยายการแพร่กระจายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้ผู้รับเชื้อเป็นเกณฑ์

หากการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อจาก 100 ราย ไปเป็น 200 ราย ใช้เวลา 5 วัน เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ถือเป็น “กลุ่มคุมอยู่” แต่หากใช้เวลา 3 วัน เช่น กลุ่มประเทศแถบยุโรป ให้ถือเป็น “กลุ่มคุมไม่อยู่”

ในวันที่ 15 มีนาคม 2563 ประเทศไทยพบการเพิ่มผู้ติดเชื้อจาก 100 รายแรก ไปเป็น 200 รายในเวลาราว 3.5 วัน ถือเป็นจุดเริ่มเข้าสู่ “กลุ่มคุมไม่อยู่” ตอนนั้นมีการคำนวณทางการแพทย์ หากไม่ทำอะไรเลยภายใน 30 วัน จะมีผู้ป่วยถึง 351,984 ราย

มาถึงวันนี้ ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มทุกวัน วันละเกิน 100 รายให้เห็นทุกวัน น่าจะจัดอยู่ใน “กลุ่มคุมไม่อยู่” ตามการคำนวณนั้นแล้ว

ในเวลานั้น ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ที่สภาพบ้านเรือนเป็นตรอก ซอก ซอย ชุมชนหนาแน่น อาคารสูงใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่กันเป็นห้องเช่า คอนโด พื้นที่ไม่ใหญ่ ส่วนพื้นที่ชั้นใน ๆ ก็มีที่ลึกลับซับซ้อนมากจนยากต่อการควบคุม

ความเป็นไปได้ที่จะเกิด Super Srpeader จึงยิ่งมีมาก ในเวลาใกล้เคียงกันก็มีข่าวการติดเชื้อแพร่จากสนามมวยและสถานบันเทิงในกรุงเทพฯ กลายเป็น Super Spreader จริง ๆ

รัฐบาลทั้งต้องบริหาร ต้องจัดการ และต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อป้องกัน

ก่อนหน้าก็มีการประกาศยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ เพื่อป้องกันคนหมู่มากมิให้รวมกลุ่มเดินทางกลับต่างจังหวัด ไปเล่นน้ำสงกรานต์ พบปะครอบครัว และร่วมวงสังสรรค์เฮฮา

การยกเลิกวันหยุดสงกรานต์ ด้านหนึ่งก็เพื่อป้องกันคนในกรุงเทพฯ มิให้ทำตัวเป็น Covid Delivery ส่งเชื้อถึงมือครอบครัวในต่างจังหวัดและเป็น Super Spreader มากยิ่งขึ้น

อีกด้านหนึ่งกลับเป็นการกักคนที่อยู่ในเกรุงเทพฯ ให้อยู่ในสถานที่คล้ายแอ่งกะทะจนทำให้การแพร่กระจายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็น Super Spreader มากยิ่งขึ้น

ทั้ง 2 ด้านจะมีผลดีได้ก็ต่อเมื่อประชาชนทำตัวเว้นระยะห่าง Social Distancing ยินยอมกักตัวอยู่กับบ้าน และปฏิบัติตามคำแนะนำทางสาธารณะสุข

แต่ต่อให้ยกเลิกวันหยุด ความสุขของคนไทยก็ยกเลิกยาก ใคร ๆ ก็ประเมินได้ว่าการทยอยกันกลับบ้านต่างจังหวัดต้องเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย Covid Delivery จึงยังมีโอกาสสูง

พอวันที่ 21 มีนาคม 2563 ห้างสรรพสินค้าและสถานที่ต่าง ๆ ถูกสั่งปิด ประชาชนถูกขอให้อยู่แต่ในบ้าน เท่านั้นล่ะภาพของคนต้องหยุดงานจำนวนมากเดินทางออกสู่ต่างจังหวัดก็เป็นจริง

ภาพขบวนรถหนาแน่นในทางหลวง การสังสรรค์ การพบปะ กิจกรรมจึงมีให้เห็น

สุดท้าย การประกาศภาวะฉุกเฉินแบบแจ้งล่วงหน้า 2 วัน เพื่อป้องกัน Covid Delivery ก็มีตามมาพร้อมการขอร้องให้ปฏิบัติตนด้านสาธารณะสุขมากยิ่งขึ้น

“คนไทยมีเอกลักษณ์ตน” คำนี้ใครก็รู้ หากพูดถึงความรัก ความผูกพันธ์ ครอบครัวในต่างจังหวัด การเอาความคิดตนเป็นใหญ่ ทำตัวสบาย ๆ ไม่ชอบกฎระเบียบ คนที่รู้จักคนไทยรู้ดี

หากจะว่ายังมีคนไทยกลุ่มใหญ่รู้สังคม เข้าใจมาตการสาธารณะสุขในเวลานี้ ก็ใช่ แต่หากจะว่าไม่รู้ ไมสนใจ ก็ใช่อีก ภาพในวันนี้จึงมีคนกลุ่มใหญ่ยอมกักตัวเองอยู่กับบ้าน

ส่วนคนไทยอีกกลุ่มใหญ่กลับไม่กักตัว ปกปิด เดินทางไปทั่ว สังคมไปทั่ว เยี่ยมญาติไปทั่ว ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม ทำตัวเป็น Covid Delivery ส่งมอบเชื้อถึงบ้าน กว่าจะรู้ตัวอีกทีการติดเชื้อก็ยิ่งทวีมากขึ้นที่ตามมาด้วยการปิดบางหมู่บ้านและทั้งจังหวัด

มาถึงวันนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มวันละกว่า 100 รายกระจายเกือบ 60 จังหวัดทั่วประเทศ รอเพียงวันไหนจะมีผู้ติดเชื้อครบทุกจังหวัดเท่านั้น

ตั้งแต่ต้น สภาพบ้านเรือนที่แยกห่างในต่างจังหวัด ดูไม่แออัด สภาพแวดล้อมที่ดูไม่เอื้อต่อการแพร่ระบาด แต่เพราะคำว่า “คนไทย” ของคนกลุ่มหนึ่งจึงทำตัวเป็น Covid Delivery ขึ้นมา

กลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาลก็โจมตีว่ารัฐบาลและคณะที่ปรึกษาคุมไม่อยู่ ทำไมต้องรอวันอังคารจึงค่อยประกาศภาวะฉุกเฉิน มันช้าไป เชื้อกระจายออกสู่ต่างจังหวัดมากแล้ว ไหนจะหน้ากากขาดตลาด ไข่แพง และอื่น ๆ แต่ละเลยคำว่า “คนไทย” กลุ่มนั้นอย่างสนิทใจ

ทำไมต้องรอวันอังคารที่ 25 มีนาคม 2563 จึงประกาศภาวะฉุกเฉิน ???

คำถามนี้ นักการเมืองต้องรู้คำตอบดี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีทุกตำแหน่งไม่มีอำนาจบริหาร จัดการ สั่งการ หรือประกาศใด ๆ เลย หากไม่มีกฎหมายมอบอำนาจให้

อำนาจบริหารประเทศต้องมาจากกฎหมายทั้งสิ้น ไม่มีใครสร้างอำนาจขึ้นมาเองได้

การประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นการรวบอำนาจสั่งการของกระทรวงต่าง ๆ ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งผู้เดียว กฎหมายจึงต้องให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีก่อน และให้รัฐมนตรีทุกตำแหน่งต้องมีมติมอบอำนาจนั้นให้ก่อน นายกรัฐมนตรีจึงจะได้อำนาจนั้นมาประกาศภาวะฉุกเฉิน

แล้วคณะรัฐมนตรีก็มีการประชุมกันในวันอังคาร มันก็แค่นั้น

ประชาชนมีกลุ่มยอมกักตัวกับกลุ่มไม่กักและทำตัวเป็น Covid Delivery ก็เรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ใครมาเป็นรัฐบาลก็ต้องดูแลทั้ง 2 กลุ่ม ด้านการสั่งการของรัฐบาล ช้าหรือเร็ว ถูกใจหรือไม่ถูกใจก็อีกเรื่องหนึ่ง ทั้ง 2 เรื่องได้มาบรรจบกันให้เป็นตัวแปรในวันนี้

วันนี้จึงได้แต่รอ รอว่าการส่งมอบเชื้อไปทั่วประเทศจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นโดยกลุ่มที่ยินยอมกักตัวอยู่กับบ้านได้แต่เพียงภาวนาให้การติดเชื่อทั่วประเทศลดลงด้วยความวังเวง

หากการส่งมอบเชื้อถึงมือแบบ Covid Delivery ไม่เพิ่มขึ้น เชื่อว่าทุกอย่างก็น่าจะกลับสู่ภายใต้การควบคุมโดยเร็ว

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - S.N.P. GROUP

Logistics

อัตราค่าขนส่งทางอากาศในประเทศมาเลเซียไปยังประเทศในแถบเอเชียพุ่งสูงขึ้น

Penang Freight Forwarders Association (PFFA) ระบุว่า อัตราค่าขนส่งทางอากาศไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 100 นับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา
Ali Ahmad เลขาธิการ PFFA กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวส่งผลให้อัตราค่าขนส่งไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จากเดิมซึ่งอยู่ที่อัตรา 3 ริงกิตต่อกิโลกรัมในเดือนมกราคม 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 18 ริงกิตต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ค่าขนส่งไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังไม่เปลี่ยนแปลงโดยอยู่ในอัตรา 10 กว่าริงกิตต่อกิโลกรัม แม้ว่าราคาน้้ามันที่ลดลงเหลือ 36 ดอลล่าต่อบาร์เรล แต่ก็ไม่ได้ช่วยทำให้ค่าระวางขนส่งทางอากาศลดลงแต่อย่างใด ปัจจัยที่ทำให้อัตราค่าขนส่งเพิ่มขึ้นจึงมาการยกเลิกเที่ยวบินและข้อจ้ากัดด้านพื้นที่ขนส่งเป็นหลัก
การยกเลิกเที่ยวบินขนส่งสินค้าและผู้โดยสารส่งผลให้สินค้ากว่า 100,000 ตันตกค้างอยู่ในประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นแผงโซลาร์เซล แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบและชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากสามารถนำวัตถุดิบดังกล่าวเข้ามาในมาเลเซียได้ ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็จะสามารถผลิตและส่งออกเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 หากสถานการณ์ดีขึ้น ปริมาณสินค้าส่งออกก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การยกเลิกเที่ยวบินขนส่งสินค้าจากปีนังและปัญหาการขาดแคลนพื้นที่การขนส่งทางอากาศทำให้อัตราค่าขนส่งทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2563 ปริมาณของสินค้าส่งออกจากท่าอากาศยานนานาชาติปีนังมีการเติบโตเพียง ร้อยละ 3 เท่านั้น โดยเป็นผลมากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

PFFA คาดว่าในปี 2563 จะมีปริมาณสินค้าขาออกรวม 68,872 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จาก 66,866 ตัน ในปี 2562 ในขณะที่สินค้าขาเข้าจะมีปริมาณ 45,922 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากเดิม 41,747 ตัน ในปี 2562 อย่างไรก็ตาม PFFA ยอมรับว่าสถานการณ์ในไตรมาสที่สองยังไม่มีความแน่นอน แต่ก็พร้อมเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยในเดือนเมษายนจะมีเที่ยวบินขนผู้โดยสารสายการบินเอมิเรตส์มายังปีนังที่นับว่าเป็นข่าวดี เนื่องจากเที่ยวบินดังกล่าวจะช่วยนำวัตถุดิบเข้ามาป้อนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ
ที่มา: The Star, 16 มีนาคม 2563

ผลกระทบต่อประเทศไทย
ไทยและมาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยมีการส่งออก-น้าเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ระหว่างกันเป็นมูลค่าประมาณ 2,000 – 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยในปี 2562 ไทยมีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมาเลเซียเป็นมูลค่ามากกว่า 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง ร้อยละ 52 สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิกส์ไดร์ฟ และแผงวงจร และมีการนำเข้าจากมาเลเซียเป็นมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 63 สินค้าน้าเข้าส้าคัญ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางอากาศที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากไทยและมาเลเซียมีเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกันหลายจุด การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ระหว่างไทยและมาเลเซียจึงเป็นการขนส่งทางรถ รองลงมาเป็นการขนส่งทางเรือ

โอกาสและแนวทางปรับตัวของผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการไทยที่เคยใช้การขนส่งทางอากาศอาจพิจารณาปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีการขนส่งอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าได้ เช่น การขนส่งทางรถ โดยด่านชายแดนไทยและมาเลเซียที่ยังคงเปิดให้มีการขนส่งสินค้า ภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด19 (หลังวันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา) ในปัจจุบันมี 5 จุด (จากเดิม 9 จุด) ได้แก่ 1. ด่านสะเดา จ.สงขลา (ตรงข้ามด่านบูกิตกายูฮิตัมของมาเลเซีย) 2. ด่านสุไหงโกลก จ.นราธิวาส (ตรงข้ามด่านรันตูปันยัง) 3. ด่านเบตง จ.ยะลา (ตรงข้ามด่านเปิงกาลันฮูลู) 4. ด่านวังประจัน จ.สตูล (ตรงข้ามด่านวังเกลียน) 5. ท่าเรือตะมะลัง จ. สตูล (ตรงข้ามกัวลาเปอร์ลิสและลังกาวี)
สำาหรับสายการบินไทยและไทยสไมล์ มาเลเซียแอร์ไลน์ แอร์เอเชีย รวมทั้งมาลินโดแอร์ได้ยกเลิกเที่ยวบิน กัวลาลัมเปอร์ – กรุงเทพฯ และจุดหมายอื่นในประเทศไทยทั้งหมดแล้ว

https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/597946/597946.pdf&title=597946&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.