CEO ARTICLE

วิสัยทัศน์บุคคล

Published on January 31, 2023


Follow Us :

    

วิสัยทัศน์คืออะไร ?
องค์กรส่วนใหญ่จะมี “วิสัยทัศน์องค์กร” เพื่อเป็นทิศทางให้ผู้นำทุกระดับพาทีมงานมุ่งไปสู่ในขณะปฏิบัติงาน หากบุคคลจะมี “วิสัยทัศน์บุคคล” เพื่อเป็นทิศทางให้ตนเองมุ่งไปสู่บ้าง บุคคลจะได้ประโยชน์อะไร ???

“สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวแพรว” (ภราดา ฟ. ฮีแรห์)
คน 2 คนมองภาพเดียวกัน มองจากที่เดียวกัน แต่เห็นไม่เหมือนกันถือเป็นเรื่องปกติ การมองและการเห็นที่ต่างกันนี้เรียกว่า “วิสัยทัศน์” (Vision)
วิสัยทัศน์เป็น “การมอง” ด้วยสติปัญญาที่มองได้ไกลกว่า กว้างกว่า ลึกกว่า และได้หลายมุมมากกว่าการมองด้วยสายตา ทำให้มองออกว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น ทุกคนมีสายตาให้มองเหมือนกัน แต่มีปัญญาไม่เหมือนกัน การมองของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
วิสัยทัศน์เป็น “การเห็น” ทิศทางที่ต้องการมุ่งไปสู่ในอนาคต ในเมื่อคนมีปัญญาไม่เหมือนกัน มีการมองไม่เหมือนกัน การเห็นทิศทางที่ต้องการมุ่งไปสู่ในอนาคตของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน
“การมอง” และ “การเห็น” ของวิสัยทัศน์จึงเป็นของคู่กัน แยกกันไม่ได้ หากมองออกแต่ไม่เห็นทิศทาง หรือไม่สามารถกำหนดจุดที่ต้องการมุ่งไปสู่ในอนาคตได้ วิสัยทัศน์ที่มีแม้จะกว้างไกลมากเพียงใดก็ไม่เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และองค์กร
ตัวอย่างที่ 1 เรือไฟฟ้ารับส่งผู้โดยสารในคลองของการบริหารองค์การส่วนท้องถิ่น
ผู้บริหารที่ 1 มองการขาดทุนทุกเดือน มองความไม่คุ้มค่า มองงบประมาณที่จำกัดและไม่เพียงพอจึงเห็นควรให้ยกเลิกการบริการในอนาคต แต่ผู้บริหารที่ 2 มองเรื่องเดียวกันแต่เห็นเป็นการลดมลพิษ เห็นเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เห็นเป็นทางเลือกเพื่อบริการประชาชนจึงให้บริการต่อไปในอนาคต
ตัวอย่างที่ 2 เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) เกิดการขยายตัวไปทั่วโลกจนถูกมองว่าสินค้าซื้อและขายจะกระจายทั่วโลกและมากขึ้น การแข่งขันก็จะสูงมากขึ้น
ผู้นำองค์กรคนที่ 1 จึงเห็นการพัฒนาทีมงานให้มุ่งสู่ความเป็นสากล มุ่งให้ความสำคัญภาษาต่างชาติ มุ่งหาผู้จัดหา (Supplier) และลูกค้าต่างประเทศใหม่ ๆ ให้มากขึ้น แต่ผู้นำองค์กรคนที่ 2 เห็นการค้าภายในประเทศจะเติบโตตามไปด้วยจึงมุ่งรักษาแต่ผู้จัดหาและลูกค้าท้องถิ่น มุ่งให้ทีมงานรักษาความเป็นท้องถิ่น (Localization) และไม่พัฒนาความรู้ด้านการต่างประเทศ เป็นต้น
ทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นเรื่อง “วิสัยทัศน์องค์กร” ที่ผู้นำมี “การมอง” และ “การเห็น” ต่างกัน เป็นเรื่องของทิศทางที่จะพาทีมงานมุ่งไปสู่ในอนาคต เป็นเรื่องที่ไม่มีใครตอบได้ทันทีว่า ใครถูกหรือใครผิดมากกว่ากันนอกจากรอผลที่แท้จริงให้เกิดขึ้น บางเรื่องอาจต้องรอเป็นปี หรืออาจถึงปั้นปลายชีวิตจึงจะเห็นผลก็มี

ในเมื่อองค์กรได้ประโยชน์จาก “วิสัยทัศน์องค์กร” บุคคลก็ควรมีและควรได้ประโยชน์จาก “วิสัยทัศน์บุคคล” บ้าง
วิสัยทัศน์ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะจินตนาการขึ้นเองได้ แต่ต้องผ่านการมองสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งการมองได้ด้วยสายตาและปัญญา ทั้งเรื่องใกล้ตัวและไกลตัว ทั้งที่เป็นข้อมูลกองอยู่ตรงหน้าและข้อมูลที่ต้องใฝ่หา มองจุดแข็ง และมองจุดอ่อนของตนให้ออก
เมื่อมองสภาพแวดล้อมต่าง ๆ และสภาพตนเองได้ก็จะเห็นประโยชน์และโทษ เห็นอนาคต เห็นอาชีพที่ควรทำ เห็นพฤติกรรมที่ตนควรปรับตัว และกำหนดทิศทางที่จะมุ่งไปสู่ในอนาคตเพื่อให้ได้ประโยชน์และหลีกเลี่ยงโทษที่จะเกิดขึ้นได้
แต่หากมองออก แต่ไม่เห็นอนาคต ไม่สามารถกำหนดทิศทางในอนาคตได้ วิสัยทัศน์ที่มีก็ไม่เกิดประโยชน์
ตัวอย่างเช่น คนที่มองเรื่องการบริการสาธารณะเป็นประโยชน์ต่อตนและสังคมก็จะเลือกผู้บริหารท้องถิ่นที่รักษาการบริการเรือไฟฟ้ารับส่งผู้โดยสารในคลอง แต่หากผู้บริหารที่ตนเลือกไม่มีวิสัยทัศน์ในทางสาธารณะก็จะเห็นความอยากเปลี่ยนผู้บริหารใหม่ หรือเห็นความอดทนรอการเลือกตั้งครั้งใหม่
ในทำนองเดียวกัน คนที่มีความรู้และความสามารถด้านการต่างประเทศก็ย่อมกำหนด “วิสัยทัศน์บุคคล” ให้ร่วมงานกับผู้นำองค์กรที่เกี่ยวพันกับการต่างประเทศ แต่เมื่อเห็นว่า ผู้นำมุ่งการค้าท้องถิ่นมากกว่า คนผู้นั้นก็อาจนำ “วิสัยทัศน์บุคคล” ของตนมาแสดงให้เห็นเพื่อเปลี่ยน “วิสัยทัศน์องค์กร” ไปตามที่ตนต้องการมุ่งไป หรือเห็นการลาออกเพื่อเปลี่ยนองค์กรใหม่ที่มีวิสัยทัศน์สอดคล้องกัน เป็นต้น
“วิสัยทัศน์บุคคล” จึงเป็นทิศทางให้บุคคลมุ่งไปสู่ และในระหว่างทางที่กำลังมุ่งไปสู่ บุคคลก็จะทราบว่า การทำงานหรือการดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั้นเป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดหรือไม่ ควรทำอย่างไร หรือควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร
บางคนมีจุดแข็งดี แต่อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่ดี จุดแข็งก็ไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ บางคนมีจุดอ่อนมาก แต่อยู่ในสภาพแวดล้อมดีก็เปลี่ยนจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งจนได้ประโยชน์มหาศาล
“วิสัยทัศน์บุคคล” เป็นเรื่องที่บุคคลควรสร้างให้มีเพื่อเป็นทิศทางให้มุ่งไปสู่ ควรมีการปรับปรุง มีการพัฒนาในเวลาอันควร และการมี “วิสัยทัศน์บุคคล” ก็ย่อมดีกว่าไม่มี.

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : January 31, 2023

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

นครหนานหนิงเร่งขยายสนามบิน ลงเสาอาคารผู้โดยสาร T3 และขยายธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2566 นครหนานหนิงได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 (T3) และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องของท่าอากาศยานนานาชาติอู๋ซวีนครหนานหนิง (เรียกสั้นๆว่า สนามบินหนานหนิง)

ตามรายงาน โครงการดังกล่าวมีมูลค่าการลงทุน 19,800 ล้านหยวน พื้นที่ก่อสร้าง 4.32 แสน ตร.ม. อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ (T3) มีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 34 ล้านคนครั้ง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2570) เมื่อแล้วเสร็จ จะช่วยให้สนามบินหนานหนิงรองรับผู้โดยสารได้ 50 ล้านคนครั้ง

ตัวอาคารได้รับออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของ ‘ชนชาติจ้วง’ ซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อยกลุ่มใหญ่ในเขตฯ กว่างซีจ้วง ซึ่งล้อกับอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 (T2) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ภายในตัวอาคารมี Observation Deck ซึ่งเป็นจุดชมวิวเครื่องบินและทัศนียภาพของสนามบิน

นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสาร T3 ได้รับการออกแบบให้มีจำนวนประตูทางออกขึ้นเครื่อง (Gate) 63 ช่อง เป็นประตูทางออกที่เชื่อมต่อกับหลุมจอดประชิดอาคารมากกว่า 80% ของประตูทางออกทั้งหมด ระยะทางจากจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยของสนามบิน (Security Screening Point) ถึงประตูทางออกขึ้นเครื่องที่ใกล้ที่สุดมีระยะห่างเพียง 110 เมตร และประตูทางออกขึ้นเครื่องกว่า 70% มีระยะห่างจากจุดตรวจค้นไม่เกิน 600 เมตร ภายในอาคาร T3 ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน รวมถึงผู้พิการ แม่และเด็ก

บริเวณชั้นผู้โดยสารขาออกและชั้นใต้ดินมีจุดเช็คอินและจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยของสนามบินแยกกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร เมื่อปีที่แล้ว สนามบินหนานหนิงได้เปิดใช้งาน “ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน” หรือ Ground Transportation Center (GTC) ซึ่งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของสนามบิน ซึ่งเป็นจุดให้บริการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ณ จุดเดียว นั่นหมายความว่า ผู้โดยสารที่เดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถขนส่งสาธารณะ สามารถเช็คอินและผ่านจุดตรวจค้นที่ชั้นใต้ดินเพื่อเข้าไปภายในอาคารผู้โดยสารขาออกได้โดยตรง

ในส่วนของผู้โดยสารระหว่างประเทศ ภายในอาคาร T3 ได้แยกพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ และแยกระบบปรับอากาศจากพื้นที่ส่วนอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการแยกกักกันผู้โดยสารจากต่างประเทศในตัว เป็นการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับผู้โดยสารที่ใช้สนามบินหนานหนิง

นอกจากนี้ อาคารผู้โดยสาร T3 ยังใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เช่น การเช็คอินด้วยการวิธีการแตะบัตรประจำตัวประชาชน หรือวิธีการสแกนใบหน้า การส่งเสริมแนวคิด ‘หลังคาเขียว’เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บน้ำฝนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

บีไอซี ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กรมคมนาคมขนส่งเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ได้ประกาศ “แผนการพัฒนาศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศหนานหนิง ระหว่างปี 2565-2093” โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ดังนี้

ในปี 2568 สนามบินหนานหนิงจะมีพื้นที่ขนถ่ายสินค้า 1.4 แสน ตร.ม. โดยแบ่งพื้นที่ขนถ่ายสินค้าฝั่งเหนือเป็นสถานีสินค้าระหว่างประเทศ ปริมาณขนถ่ายสินค้าอยู่ที่ 3 – 3.5 แสนตัน แบ่งเป็นสินค้าระหว่างประเทศ 1.3 – 1.5 แสนตัน มีเส้นทางขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศที่เป็น All Cargo Flight มากกว่า 12 เส้นทาง โดยครอบคลุมเมืองสำคัญในประเทศสมาชิกอาเซียน และเน้นสินค้าสดและมีชีวิต และสินค้าที่ซื้อขายผ่านแพลตฟอร์ม Cross border e-Commerce เป็นหลัก เพื่อพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กระจายสินค้าสด สินค้ามีชีวิต และสินค้าห่วงโซ่ความเย็น และศูนย์กระจายสินค้า Cross border e-Commerce
ในปี 2578 สนามบินหนานหนิงจะมีพื้นที่ขนถ่ายสินค้า 3.1 แสน ตร.ม. ปริมาณขนถ่ายสินค้าอยู่ที่ – -1.1 ล้านตัน แบ่งเป็นสินค้าระหว่างประเทศ 5 – 6 แสนตัน เพิ่มความถี่ของเที่ยวบินไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน และขยายเส้นทางบินไปยังประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิก
ในปี 2593 สนามบินหนานหนิงจะมีพื้นที่ขนถ่ายสินค้า 5.9 แสน ตร.ม. ปริมาณขนถ่ายสินค้าอยู่ที่ 2 ล้านตัน แบ่งเป็นสินค้าระหว่างประเทศ 9 แสนตัน เป็นโครงข่ายศูนย์กลางเส้นทางบินในเอเชียแปซิฟิก และขยายเส้นทางบินไปยังฝั่งยุโรปและอเมริกา
นอกจากนี้ ในแผนงานฯ ยังระบุถึง การส่งเสริมธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ การพัฒนาโมเดลงานขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi-modal Transportation) การพัฒนางานขนส่งและกระจายสินค้าระหว่างบกกับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดหาแหล่งสินค้าเพื่อส่งเสริมการพัฒนางานขนส่งสินค้าทางอากาศของสนามบินให้เติบโตอย่างยั่งยืน และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง IoT และ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพงานขนส่งสินค้าสู่ความเป็นอัจฉริยะ

ที่มา: https://thaibizchina.com

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.