CEO ARTICLE

NVOCC

Published on July 20, 2021


Follow Us :

    

การนำเข้า การส่งออก และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นกิจกรรมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
การนำเข้าและการส่งออกพอจะเข้าใจได้ แต่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีความหลากหลาย เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาก ซับซ้อน บางเรื่องเข้าใจยาก ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ส่งออกก็ควรมีความเข้าใจการขนส่งสินค้าทางทะเลให้เป็นพื้นฐานพอประมาณเพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้

หากจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เพียงแบ่งผู้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทางทะเลออกเป็น 2 กลุ่มคือ “กลุ่มผู้ขนส่งที่มีเรือ” กับ “กล่มผู้ขนส่งที่ไม่มีเรือ” เท่านี้
1. “กลุ่มผู้ขนส่งที่มีเรือ”
หมายถึง ผู้ขนส่งที่มีเรือบรรทุกสินค้าเป็นของตัวเอง คำที่ใช้เรียกกลุ่มนี้คือ “Shipping”
หากพิจารณาคำว่า “Ship” ซึ่งหมายถึง “เรือ” คำว่า “Shipping” จึงหมายถึง “การเดินเรือ” หรือ “การขนส่งสินค้าทางเรือ”
การนำคำ “ชิปปิ้ง” มาใช้กับผู้ทำหน้าที่ผ่าน “พิธีการศุลกากร” จึงไม่ใช่คำสากลซึ่งมีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้ ส่วนคำสากลที่ถูกต้องคือ “ตัวแทนออกของ” หรือ “Customs Broker”
ปัจจุบัน “Shipping” ได้พัฒนาไปสู่ “กลุ่มผู้ขนส่งที่มีเรือเป็นของตนเอง” และใช้คำเรียกว่า “Vessel Operating Common Carrier” หรือ “VOCC” ที่มีความหมายชัดเจนกว่า
เรือลำหนึ่งมีมูลค่านับร้อยนับพันล้านบาท ทั้ง “Shipping” และ “VOCC” จึงมุ่งไปที่การเดินเรือ การดูแลรักษาตัวเรือ รายได้จากการขายระวางเรือ (Freight) ในราคากำหนด (Tariff Rate) มุ่งจัดพื้นที่บนเรือให้วางสินค้า ณ ท่าเรือประเทศต้นทาง และมุ่งวางแผนการเดินเรือ (Shipping Schedule) เป็นหลัก การบริการเสริมอื่น ๆ ที่จำเป็นจึงมีน้อยหรือไม่มีเลย
ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกที่มีสินค้ามาก เป็นสิบเป็นร้อยตู้สินค้า (Container) ต่อครั้งย่อมเป็นที่หมายปอง ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และมีอำนาจต่อรองค่าระวาง
ในบางประเทศ กลุ่มผู้ขนส่งที่มีเรือบางรายเห็นความไม่คุ้มค่าที่จะมีสำนักงานขาย และมีทีมงานจัดพื้นที่บนเรือก็อาจมอบผู้อื่นในประเทศนั้นให้เป็นตัวแทนทำหน้าที่ และมีกำไรร่วมกัน
ตัวแทนที่ได้รับมอบจาก “Shipping” และ “VOCC” จะเรียกว่า “Shipping Agent” ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือ “กลุ่มผู้ขนส่งที่มีเรือ”
2. “กลุ่มผู้ขนส่งที่ไม่มีเรือ”
หมายถึง ผู้ขนส่งที่ไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเป็นของตัวเอง คำที่ใช้เรียกคือ “Non Vessel Operating Common Carrier” หรือ “NVOCC” หรือผู้ขนส่งสินค้าตามสัญญา มีกฎหมายรองรับให้มีสถานะ และให้มีความรับผิดชอบเทียบเท่ากลุ่มผู้ขนส่งสินค้าที่มีเรือ (VOCC)
ผู้ขนส่งที่ไม่มีเรือ หรือ NVOCC ไม่ต้องพะวงเรื่องการเดินเรือ จึงเน้นการจัดการสินค้าเพื่อขนส่งทางทะเลเป็นหลัก และให้บริการเสริมมาก เช่น การรวมสินค้าเข้าตู้ (Consolidation) พิธีการศุลกากร (Customs Clearance) การขนส่งภายในประเทศ (Inland Transport) คลังเก็บสินค้า (Warehousing) การจัดทำเอกสาร (Documentation) การทำใบอนุญาตนำเข้าและส่งออก และอื่น ๆ อีกมาก
ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกที่มีสินค้าไม่มาก ต้องการบริการเสริมและการดูแลเป็นพิเศษจึงเป็นที่ต้องการของ NVOCC ที่ทำให้มีอำนาจต่อรองไปในตัว ปัจจุบัน NVOCC มีหลายรูปแบบโลดแล่นในธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เช่น Freight Forwarder และ Logistics Provider
Freight Forwarder จะมุ่งการจัดการสินค้าเพื่อการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก
Logistics Provider จะมุ่งการรวบรวม จัดเก็บ เคลื่อนย้าย และกระจายสินค้าเป็นหลัก
NVOCC จำเป็นต้องมีตัวแทนหลายประเทศเพื่อสร้างบริการ สร้างปริมาณ ทำสัญญาค่าระวางกับ VOCC และวางแผนการขนส่งสินค้าทางทะเลให้ครอบคลุม
ส่วนประสิทธิภาพและราคาเป็นเรื่องการแข่งขันของแต่ละกิจการ

ผู้ขนส่งสินค้าไม่ว่าจะมีเรือหรือไม่มีเรือ (VOCC หรือ NVOCC) ต่างก็อยู่ภายใต้กฎหมายขนส่งระหว่างประเทศ พ.ร.บ. ขนส่งสินค้าทางทะเลของไทย และกฎหมายอื่นเหมือนกัน สามารถออกใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) ให้เป็นหลักฐานการรับส่งสินค้าได้เหมือนกัน และมีศักดิ์ศรีในทางกฎหมายเท่าเทียมกัน
ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกเพียงพิจารณาลักษณะสินค้าของตน การบริการเสริม และความเป็นพิเศษที่ต้องการก็จะทราบว่า ผู้ให้บริการ VOCC หรือ NVOCC รายใดเหมาะสมกับตน
ทั้งหมดเป็นเพียงพื้นฐานความเข้าใจง่าย ๆ เพื่อการพิจารณาเท่านั้น

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : July 20, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

เมืองชิงต่าวเปิดตัวเรือบรรทุกสินค้าไร้คนขับลำแรกของจีน และขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขับเคลื่อนอัตโนมัติลำแรกของประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันเป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เดินทางโดยระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เดินทางออกจากโรงต่อเรือเมืองชิงต่าว เพื่อทำการทดสอบในศูนย์ทดสอบใกล้กับ Blue Silicon Valley เขตจี๋โม่ เมืองชิงต่าว

เรือบรรทุกดังกล่าว มีชื่อว่า “จื้อเฟย (Zhifei)” โดยมีความยาว 117.15 เมตร กว้าง (moulded breadth) 17.32 เมตร สูง (moulded depth) 9.9 เมตร และมีความเร็วตามออกแบบ 12 นอต มีน้ำหนักบรรทุก ประมาณ 8,000 ตัน และสามารถเดินเรือต่อครั้ง 4,500 ไมล์ทะเล (8,334 กิโลเมตร) โดยสถาบันวิทยาศาสตร์การขนส่งทางน้ำของกระทรวงคมนาคมเป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี บริษัท Navigation Brilliance (Qingdao) Technology Co., Ltd. เป็นผู้ลงทุนและดำเนินการก่อสร้าง และบริษัท Shandong Port Shipping Group Co., Ltd. เป็นผู้รับผิดชอบด้านดำเนินธุรกิจของเรือบรรทุกดังกล่าว

ความสามารถที่โดดเด่นของ “จื้อเฟย” มี 3 อย่าง ได้แก่ การขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ การควบคุมระยะไกล และการขับเคลื่อนอัตโนมัติ ชึ่งทั้ง 3 อย่างนี้ จะเป็นพื้นฐานทางเทคนิคของการขนส่งทางเรือแบบไร้คนขับและการปรับระบบอุตสาหกรรมการขนส่งทางเรือ รวมทั้ง จะช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการต่อเรือของประเทศจีน ตลอดจน ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการขนส่งอัจฉริยะ

ในขณะเดียวกัน ด้วยการทดลองเดินเรือของ “จื้อเฟย” ศูนย์ทดสอบการขนส่งทางเรืออัจฉริยะ แห่งแรกของประเทศจีน ซึ่งตั้งที่อยู่ Blue Silicon Valley เขตจี๋โม่ เมืองชิงต่าว เริ่มเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเช่นกัน เรืออัจฉริยะและอุปกรณ์การขนส่งอัจฉริยะต่าง ๆ จากทั่วประเทศและทั่วโลก ก็สามารถทดสอบที่ศูนย์ทดสอบแห่งนี้ได้ ทั้งนี้ Blue Silicon Valley จะใช้โอกาสนี้เพื่อเร่งพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งอัจฉริยะครบวงจรระดับประเทศและระดับโลก

ที่มา : https://thaibizchina.com

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.