CEO ARTICLE

พระเกี้ยว

Published on November 2, 2021


Follow Us :

    

ตราสัญลักษณ์ของธรรมศาสตร์คือ ‘ธรรมจักร’ ของจุฬาฯ คือ ‘พระเกี้ยว’
‘พระเกี้ยว’ ยังเป็นตราสัญญลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 5 ที่เสี่ยงพระองค์จากการถูกล้มล้างโดยเชื้อพระวงศ์และบุคคลที่สูญเสียประโยชน์จาก ‘การเลิกทาส’ ในปี พ.ศ. 2448 อีกด้วย
แต่เมื่อ อบจ. มีมติให้ยกเลิกกิจกรรมอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ในงาน ‘ฟุตบอลประเพณี’ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ความขัดแย้งทาง ‘วัฒนธรรม’ ที่ทุกวันนี้มีมากในสังคมไทยจึงรุนแรงขึ้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งโดยในหลวงรัชกาลที่ 5 ด้วยทรัพย์สินส่วนพระองค์เพื่อให้ประชาชนได้เรียนเสมอเชื้อพระวงศ์ ให้มีศักดิ์ศรี มีความรู้ และเข้ารับราชการภายหลังการเลิกทาส
อบจ. คือ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่บริหารกิจการส่วนกลางของมหาวิทยาลัย ดูแล และสนับสนุนนิสิตในงานพิธีต่าง ๆ เช่น ฟุตบอลประเพณี เป็นต้น
ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และสร้างความสามัคคีระหว่าง 2 สถาบันที่ได้ชื่อว่ามีส่วนพัฒนาประเทศอย่างมาก
ศิษย์เก่าจุฬาฯ และธรรมศาสตร์มีมาก ฟุตบอลประเพณีทุกปีจึงเป็นที่สนใจอย่างมาก
มติของ อบจ. ให้ยกเลิกการเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ที่สื่อถึงการเชิดชูสถาบันกษัตริย์ และการแบก ‘เสลี่ยง’ ที่สื่อถึงการแบ่งชนชั้นก่อให้เกิดกลุ่มผู้สนับสนุน ผู้คัดค้านทั้งจากศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับจุฬาฯ และประชาชนผู้ติดตาม

หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงจะพบว่า ‘วัฒนธรรม’ ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
The World Commission on Culture and Development กล่าวว่า “วัฒนธรรมเป็นปัจจัยในการถ่ายทอดพฤติกรรม และพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์ เสรีภาพ และความเป็นผู้ตื่นตัวต่อความเปลี่ยนแปลงใหม่ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตเสมอ”
การขอยกเลิกกิจกรรมอัญเชิญพระเกี้ยวครั้งนี้เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถานที่หล่อหลอมปัญญาชน เป็นสถานที่มีเสรีภาพในแสดงความเห็นที่แตกต่างได้ แต่ต้องไม่ผิดกฎหมาย และไม่กระทบสิทธิของผู้อื่น
ทั้ง ‘พระเกี้ยว’ และ ‘เสลี่ยง’ จึงเป็นเรื่องของคนที่มีสติ มีความคิด มีหลักการ มีเหตุผล เป็นเรื่องของศิษย์เก่ามากมายที่โลดแล่นในสังคม ศิษย์ปัจจุบัน อบจ. และระบบภายในของจุฬาฯ
แต่การที่ อบจ. เลือกแถลงในวันที่ 23 ต.ค. 2564 วันปิยะมหาราช ทำให้กลุ่มผู้คัดค้านมองว่ามีเจตนาแอบแฝง ทั้งเหตุผลเรื่องเสลี่ยง ทาส และการแบ่งชนชั้นซึ่งถูกยกเลิกโดยรัชกาลที่ 5 ไปนานแล้วจึงถูกมองว่า ‘เหตุผลย้อนแย้งกับข้อเท็จจริง’
เมื่อผสมกับข้อมูลที่บูลลี่ในโลกโซเซียล เช่น พิธีการมอบโฉนดที่ดินให้จุฬาฯ ที่เพียงมาทำในยุคคณะราษฎร์ การเก็บค่าเช่า เป็นต้น ก็ยิ่งเห็นการเมืองแอบแฝง
แม้ อบจ. จะเป็นตัวแทนจากคณะต่าง ๆ และแม้มติ 29 ต่อ 0 ซึ่งเป็นเอกฉันท์ตามรูปแบบประชาธิปไตย แต่เมื่อผู้เกี่ยวข้องที่แท้จริงน้อยเกินไป การสนับสนุนและการคัดค้านจากทั้ง 2 ด้านจึงลุกลามออกนอกมหาวิทยาลัยอย่างที่เห็น
วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงมักเกิดจากปัญญาชน ผ่านการสนับสนุน การคัดค้าน ในวงกว้างซึ่งกว่าจะลงตัว กว่าจะยอมรับ และกว่าจะเปลี่ยนแปลงได้ต้องใช้ ‘เวลา’ นานพอสมควร
การยกเลิกกิจกรรมอัญเชิญ ‘พระเกี้ยว’ ก็เกิดจากปัญญาชนเช่นกันเพียงแต่ ‘เวลา’ และ ‘การมีส่วนร่วม’ ของผู้เกี่ยวข้องจริง ๆ ยังดูน้อยเกินไป
ยิ่งเมื่อมีการเมืองแอบแฝง การเปลี่ยนแปลงจึงดูไม่เป็นธรรมชาติ ขาดความสง่างาม และดูเหมือนว่า ความคิดที่ติดอยู่ใน ‘บ่วงทาส’ ยังมีอยู่ทั้งที่ ‘ทาส’ ถูกยกเลิกไป 116 ปีแล้ว
สิ่งที่น่าสงสารที่สุดคือ ทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านที่เกี่ยวข้องกับจุฬาฯ โดยตรง ไม่มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง แต่ต้องออกมาแสดงพลัง ออกมาแสดงความคิดเห็น ออกมาวุ่นวายส่งเสียงจนกว่าจะได้ความชัดเจน
วัฒนธรรมทั่วโลกหากไม่ดีก็ควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หากดีก็ควรรักษาไว้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจริง ๆ และเวลาจะเป็นผู้ผลักดัน ไม่มีเจตนาอื่นใดซ่อนเร้น หลักการมีเพียงแค่นี้
ไม่มีใครรู้ว่าในที่สุด ‘พระเกี้ยว’ จะลงเอ่ยอย่างไร แต่สิ่งนี้สื่อให้เป็นว่า ‘บ่วงทาส’ ทางความคิดยังไม่สิ้นไปจากแผ่นดินไทย

ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร
CEO – SNP Group

อ่านบทความอื่นที่เขียนโดย ดร. สิทธิชัย ชวรางกูร ได้ที่ http://snp.co.th/e-journal/

Date Published : November 2, 2021

Dr. Sitthichai  Chawaranggoon
Dr. Sitthichai ChawaranggoonChief Executive Officer (CEO) - SNP GROUP

Logistics

สิงคโปร์เปิดท่าเรือ Tuas ก่อนกำหนด เพื่อบรรเทาวิกฤตห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

สิงคโปร์เปิดท่าเทียบเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 2 ท่าแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างท่าเรือ Tuas เฟส 1 ก่อนกำหนด (กำหนดเปิดจริงสิ้นปี 2564) เพื่อช่วยบรรเทาปัญหา “คอขวด” หรือการกระจุกตัวของเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือหลักทั่วโลก ที่เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดฯ การปิดท่าเรือในหลายประเทศ และความต้องการสินค้าขยายตัวเพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง ที่เป็นผลจากความกังวลในด้านการขาดแคลนอาหาร รวมถึงการที่ผู้บริโภคที่เริ่มกลับมาใช้จ่ายอย่างปกติอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ เริ่มผ่อนคลายลง

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 Senior Minister of State for Transport นาย Chee Hong Tat ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า สิงคโปร์พยายามทำหน้าที่เป็นท่าเรือ “Catch-Up” หรือท่าเรือที่ให้บริการแบบบูรณาการ เพื่อช่วยบรรเทาแรงกดดันจากปัญหาคอขวด ที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า โดยในปี 2564 อัตราความเที่ยงตรงของตารางเดินเรือทั่วโลกลดลงอยู่ไปที่ประมาณ 35% – 40% จากเดิมโดยเฉลี่ย 70% ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เทียบที่สิงคโปร์ล่าช้าโดยเฉลี่ยประมาณ 7.5 วัน และเกิดการสะสมของเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ที่ต้องขนถ่ายในสิงคโปร์มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้สิงคโปร์ขาดแคลนพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์

ทั้งนี้ ปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์เรือขนส่งสินค้า MV Ever Given (Evergreen) ได้เกยตื้นขวางคลองสุเอซ (Suez Canal) ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำที่สำคัญและคับคั่งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 25641 และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน ที่ทำให้ท่าเรือ Yan Tian ถูกปิดเป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ เหตุการณ์ข้างต้นทำให้ PSA Singapore2 ทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อบรรเทาการชะงักของห่วงโซ่อุปทาน โดยช่วยวางแผนและปรับเส้นทางการเดินเรือ อาทิ การปรับเส้นทางการเดินเรือของเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือ Persian Gulf ในอ่าวเปอร์เซีย จำนวน 45 ลำ ให้สามารถเข้าเทียบท่าเรือปลายน้ำได้ทันตามกำหนดเวลาได้ และ PSA ก็ได้ช่วยปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือไปยังจีนในเดือนพฤษภาคม 2564 เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบัน สิงคโปร์กลายเป็นท่าเรือหลักสำหรับ Catch-up เส้นทางเดินเรือ เพราะนอกจากสิงคโปร์จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านเส้นทางการเดินเรือแล้ว ท่าเรือสิงคโปร์ยังให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือแบบครบวงจรอีกด้วย ตั้งแต่บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ บริการ Bunkering (การเติมน้ำมันสำหรับท่าเรือที่เข้าเทียบในสิงคโปร์) เสบียง การเปลี่ยนลูกเรือ รวมถึงข้อมูลและบริการนำร่อง เป็นต้น

นาย Chee กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่สิงคโปร์ให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ก่อให้เกิดความท้าทายต่อสิงคโปร์เช่นกัน อาทิ การตกค้างของตู้คอนเทนเนอร์ในสิงคโปร์ที่นานกว่าเดิมมาก จำนวนเรือบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ที่เดินทางมายังสิงคโปร์มีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาการรอคิวเข้าสู่สิงคโปร์ก็นานขึ้นเช่นกัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2564 จำนวน ตู้คอนเทนเนอร์ TEU3 ที่เข้ามายังสิงคโปร์มีจำนวนมากถึง 28.15 ล้านตู้ คิดเป็นอัตราเติบโตสูงถึง 3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับปี 2562 ช่วงก่อนเกิดโรคระบาด อัตราการเติบโตก็ยังคงเป็นบวกที่ 2.4%

ดังนั้น สิงคโปร์จึงต้องเพิ่มศักยภาพในการดำเนินการท่าเรือ โดยเมื่อปี 2563 สิงคโปร์เปิดท่าเทียบเรือ 8 ท่า ในบริเวณท่าเรือ Keppel Terminal สามารถเก็บตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 65,000 ตู้ ต่อมาเมื่อเดือนกันยายน 2564 สิงคโปร์เปิดพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์ในท่าเรือ Tuas ก่อนกำหนดเปิดจริง (สิ้นปี 2564) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวสามารถเก็บเพิ่มได้อีกประมาณ 2,000 ตู้ รวมถึง การจ้างแรงงานท้องถิ่นเพิ่มกว่า 2,500 คน นอกเหนือจากการเพิ่มศักยภาพดังกล่าวแล้ว PSA ยังมีส่วนที่ช่วยเร่งการขนส่งสินค้าสำคัญหลายประเภท รวมถึงเซมิคอนดักเตอร์ และการทำงานร่วมกับ SMEs เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการขนส่งสินค้าจะทันตามกำหนดเวลา

ท่าเรือ Tuas Mega
สิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะรวมท่าเทียบเรือทั้งหมด 5 แห่ง5 และย้ายไปที่ท่าเรือ Tuas Mega ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของท่าเรือของสิงคโปร์ ที่มีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบยั่งยืนมาใช้ในการดำเนินการ อาทิ ระบบควบคุมอัจฉริยะ ระบบการจัดการจราจรทางเรือ และยานพาหนะไร้คนขับ ซึ่งที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคงของน่านน้ำของสิงคโปร์ ทั้งนี้ เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2583 ท่าเรือ Tuas จะกลายเป็นท่าเทียบเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์อัตโนมัติเต็มรูปแบบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ 1,339 เฮกตาร์ (8,368.75 ไร่) และจะสามารถรองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ TEU ได้มากถึง 65 ล้านตู้

การก่อสร้างท่าเรือ Tuas ยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้มาตรการการจัดการความปลอดภัยที่เข้มงวด ทั้งนี้ การพัฒนาท่าเรือ Tuas แบ่งออกเป็น 4 เฟส โดยเฟส 1 มีพื้นที่โดยรวม 400 เฮกตาร์ (2,500 ไร่) มีท่าเทียบเรือ 21 ท่า จะสามารถรองรับตู้คอนเทนเนอร์ TEU ได้ 20 ล้านตู้ มีกำหนดที่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2570

ความคิดเห็นของ สคต.
การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ทั่วโลกเป็นการขนส่งทางทะเล จึงทำให้การขนส่งประเภทนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโลก โดยจำนวนสินค้าที่บรรทุกโดยตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้นจากประมาณ 102 ล้านเมตริกตัน ในปี 2523 เป็น 1.83 พันล้านเมตริกตัน ในปี 25607 ต่อมาเมื่อเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ประเทศที่มีท่าเรือสำคัญๆ ของโลก จึงพยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเช่นกัน และได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางการท่าเรือของโลก สมกับตำแหน่ง Maritime City อันดับหนึ่งของโลกห้าปีซ้อน8 โดยได้ดำเนินการอย่างครอบคลุมและมีการพิจารณาเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว เห็นได้จากการพัฒนาท่าเรือ Tuas เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านการขนส่งทางทะเลในอนาคตโดยเฉพาะ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือของสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังเร่งเปิดดำเนินการก่อนกำหนด เพื่อบรรเทาปัญหาการชะงักของห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความท้าทายต่างๆ สิงคโปร์ก็ได้ออกตัวโดยการประกาศว่าไม่อาจสามารถทำได้เพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้

สำหรับประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เช่นกัน โดยประสบปัญหา ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าเพื่อลงเรือส่งออกขาดแคลน แต่ได้มีการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเปิดโอกาสให้เรือขนาดใหญ่เอาตู้เปล่าเข้ามาและส่งสินค้าออกไปได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าไทยไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลการบริการเรือสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ท่าเรือเชียงของ และท่าเรือระนอง ในช่วงระยะเวลา 9 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2564 (ตุลาคม 2563-มิถุนายน 2564) ว่า มีทิศทางการฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะด้านการดำเนินงานให้บริการสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่า ที่มีอัตราสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ในขณะที่การให้บริการเที่ยวเรือลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากขนาดเรือที่เข้าเทียบท่ามีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีการขนตู้สินค้าต่อลำเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การเติบโตของตู้สินค้าผ่านท่าที่ปรับตัวดีขึ้นเกิดจากการส่งออกของไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/754154/754154.pdf&title=754154&cate=413&d=0

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.